กลยุทธ์และวิธีการสื่อสารของพรรคการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562

Main Article Content

สุเมธ ตั้งประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และวิธีการสื่อสารของพรรคการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบผสม (Mix Method) โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการประเมินผลการสื่อสาร และใช้การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเข้าใจถึงการออกแบบกลยุทธ์ และวิธีการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยแบ่งกลุ่มพรรคการเมืองออกเป็น พรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก


ผลการวิจัย พบว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่ต้องกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารทุกช่องทาง เน้นการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลในการศึกษาพฤติกรรมของตลาดการเมืองกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดำรงความเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางต้องกำหนดเป้าหมายตลาดการเมืองแล้วจึงออกแบบกลยุทธ์การสื่อสารให้ตรงเป้าหมาย โดยจะเน้นการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือไม่ก็ได้ แต่การใช้สื่อสังคมสังคมออนไลน์ และวิทยาศาสตร์ข้อมูลในการศึกษาพฤติกรรมของฐานเสียงตลาดการเมืองจะมีส่วนเสริมต่อการเพิ่มตลาดการเมืองอย่างชัดเจน และพรรคการเมืองขนาดเล็กต้องกำหนดเป้าหมายทางตลาดทางการเมือง ใช้ตัวแทนที่สามารถสื่อการให้เกิดความมั่นใจกับสังคม อย่างหัวหน้าพรรค หรือผู้มีอิทธิพลต่อคะแนนเสียงของพรรคที่มีคะแนนนิยมดี ในการสื่อสารอุดมการณ์ของพรรคสร้างเนื้อหาสารที่เข้าใจง่าย กระชับ มีประเด็น สร้างสรรค์ นำไปสู่การตอบรับจากกลุ่มเป้าหมาย เกิดการบอกต่อ และกลายเป็นกระแสเพื่อดึงดูดความสนใจจากสื่อใหญ่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐกริช เปาอินทร์ และฐาลินี สังฆจันทร์. (2563). กลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์และการปลดปล่อยคุณค่าของข้อมูลในยุคดิจิทัลเพื่อเพิ่มพูนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและศักยภาพการแข่งขันในองค์การภาครัฐและภาคเอกชน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 18(2), 59-100.

นันทะ บุตรน้อยและคณะ. (2563). วิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ. Local Administration Journal 13(2), 203-220.

ปฐมาพร เนตินันทน์. (2553). การตลาดเพื่อการเมืองกับประชาธิปไตยในยุคมวลชน : ศึกษาเฉพาะกรณีการรณรงค์เลือกตั้งหาเสียงในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.bu.ac.th/ knowledgecenter/epaper/may_july2 010/pdf/page86.pdf

ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2561). การเมืองแบบใหม่ และการเมืองแบบเก่า. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://futureforwardparty.org/?p=293

พงษ์มนัส ดีอด. (2563). พฤติกรรมการหาเสียงของพรรคการเมือง บนสื่อสังคมออนไลน์: Facebook. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 437-450.

พันธกานต์ ทานนท์. (2563). กลยุทธ์การตลาดการเมืองไทยปี 2562 กรณีศึกษา: พรรคอนาคตใหม่. วารสารนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรม นิด้า, 7(2), 96-116.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์จุสาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีเฟซบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(4), 195-205

วิสุทธิ์ ขันสิริ ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ และการดา ร่วมพุ่ม. (2565). กลยุทธ์การตลาดทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่ ในการหาเสียงเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 16(1), 184-222.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การตลาดเพื่อการเมือง: ชัยชนะของการเลือกตั้ง. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2557/feb2557-2.pdf

สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร. (2562). กลยุทธ์การใช้สื่อสังคม (social media) เพื่อรณรงค์ทางการเมืองในยุคสังคมเครือข่าย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 27-41.

สุระชัย ชูผกา. (2558). สมดุลในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งระหว่างกลยุทธ์การตลาดทางการเมืองกับกลยุทธ์หัวคะแนนในระบบอุปถัมภ์: ศึกษากรณีการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Agbaimoni, O., & Bullock, L. (2013). Social media marketing: Why businesses need to use it and how. Marketing of Scientific and Research Organizations, 8(2), 1-17.

Almond, G. A., & Powell, G. B. (1980). Comparative position communication. Boston: Little Brown.

Ayankoya, K., Calitz, A. P., & Cullen, M. (2015). A Framework for the use of social media for political marketing: An exploratory study. Retrieved September 16, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/282441999_A_FRAMEWORK_FOR_THE_USE_OF_SOCIAL_MEDIA_FOR_POLITICAL_MARKETING_AN_EXPLORATORY_STUDY

Berio, D. K. (1960). The process of communication. New York: Holt Rinehart & Winston.

Blei, D. M., Ng, A. Y., & Jordan, M. I. (2003). Latent Dirichlet allocation. Journal of Machine Learning Research, 3(1), 993-1022.

ILAW. (2562). เลือกตั้ง 62: ห้ามโฆษณาหาเสียงผ่าน วิทยุและโทรทัศน์ เว้น กกต.จะสนับสนุนและจัดสรรเวลาออกสื่อให้แทน. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://ilaw.or.th/node/5148

Kuzmenko, A. (2014). Simulated annealing for Dirichlet Priors in LDA. Retrieved January 25, 2021, from https://akuz.me/pdfs/akuz_sim_ ann_lda.pdf

Newman, B. I. (1994). The marketing of the president. Thousand Oaks, CA: Sage.

Stat Counter. (2020). Social media stats Thailand. Retrieved September 16, 2021, from https://gs.statcounter.com/social-media-stats/all/thailand

Statista Research Department. (2020). Number of social network users in Thailand from 2017 to 2025. Retrieved September 16, 2021, from https://www.statista.com/statistics/ 489230/number-of-social-network-users-in-thailand

The Standard. (2561). ทำความเข้าใจก่อนไปเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรใบเดียว เลือกได้เพียงหนึ่ง ‘คนที่รัก’ หรือ‘พรรคที่ใช่’. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://thestandard.co/election-2561-and- voting-explained/