ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด

Main Article Content

ณัฐนันท์ ปริยวิศว์ธนะ
มณีเนตร วรชนะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด 2) การตัดสินใจเลือกที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดตราด จำนวน 385 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลด้วยวิธีการแบบออนไลน์ ตอบแบบสอบถามผ่าน Google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน t–test, F–Test และ Pearson's Correlation Coefficient


ผลการวิจัย พบว่า 1) เหตุผลหลักในการเดินทางท่องเที่ยวจังหวัดตราด ส่วนใหญ่มาพักผ่อน ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่ค้าง 1 คืน ความตั้งใจเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนมากที่สุด สนใจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากที่สุด และกิจกรรมที่สนใจ พบว่า ส่วนใหญ่พักผ่อนและถ่ายรูป 2) การตัดสินใจเลือที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด พบว่า นักท่องเที่ยวทำการศึกษาข้อมูลดีแล้ว มีโปรโมชั่น มีส่วนลดและไม่มีผู้คนพลุกพล่าน ที่พักและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีราคาถูก มีการวางแผนเดินทางอยู่แล้ว และมั่นใจในมาตรการความปลอดภัยของจังหวัดตราด ตามลำดับ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกที่พักประเภทรีสอร์ตในจังหวัดตราด มีจำนวน 6 ปัจจัย เรียงลำดับ จากมากไปน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ปัจจัย ด้านการตลาด และปัจจัยด้านกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จาก https://trat.mots.go.th/

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยว ปี2561. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จาก https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=504&filename

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การะเกด แก้วมรกต. (2554). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชลธิชา เตชวัชรมงคล. (2559). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธงชัย สันติวงศ์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคทำงกำรตลำด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2552). การจัดการการตลาด. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

วาสิตา คลองตาล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2564). สถานการณ์ท่องเที่ยวตลาดในประเทศปี 2564. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/inbound-tourism-situation-2021/

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดตราด. (2564). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม - ธันวาคม 2563. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จากhttps://trat.mots.go.th/more_news.php?page=2&cid=45

สำนักงานจังหวัดตราด. (2561). แผนงานบูรณการส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณการจังหวัดตราด. ตราด: สำนักงานจังหวัดตราด.

สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. (2554). การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว: ก้าวแรกสู่การเป็นผู้บริหารธุรกิจท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อินทนิล.

Jones, L. (1984). An Interactive View of Reading: Implication for the Classroom. The Reading Teacher, 35, 724-777.

Kotler, P., & Keller, K. (2006). Marketing Management. (12th Ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Mansfeld, Y. (1992). From Motivation to Actual Travel. Annals of Tourism Research, 19(3), 399-419.