ปัจจัยในการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ไปรยา วิลัยรัตน์
เอื้อมพร ศิริรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยค่านิยมที่มีผลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ใช้สูตรของ Cochranโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยค่านิยมมีผลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถนำไปพยากรณ์การเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 81.20 และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ มีผลต่อการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถนำไปพยากรณ์การเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 90.90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล โสระเวช. (2557). ปัจจัยค่านิยมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 123-136.

ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋า และรองเท้าสุภาพสตรี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุศรา พิยกูล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของนิสิต นักศึกษาปริญญาโท เขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2565). แบรนด์เนมอัพราคา 1 ใน 7 เทรนด์สะท้อนตลาดลักเซอรี่โลกเบ่งบาน. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก https://www.prachachat.net/world-news/news-856311

ปนัดดา กันกา และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). พฤติกรรมการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมมือสอง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(1), 150-160.

ภาวิณี แสงมณี และเบจมาภรณ์ อิศรเดช. (2558). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม ของพนักงานบริษัทบริเวณศูนย์การค้าสยามพารากอน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 3(3), 239-249.

ภาสวรรณ ธีรอรรถ. (2555). บุคลิกภาพและค่านิยมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคเพศหญิงในการเลือกซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัตนา กวีธรรม. (2558). คุณค่าตราสินค้า ค่านิยมของลูกค้า และทัศนคติต่อแบรนด์หรูที่ส่งผลตอความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศินภา เลาหสินณรงค์. (2557). คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ (ความตั้งใจ ความสนใจ ความต้องการ และการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมแท้ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). 8 สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2565, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx

อรสิริ ทัศนาวรากุล. (2554). ค่านิยมการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าสยามพารากอนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.