ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดังเดิม (โชห่วย) ในจังหวัดชุมพร

Main Article Content

รดา ช่างเพียร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการร้านโชห่วย
ในจังหวัดชุมพร 2) การตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วย 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วย 5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ที่เคยมาใช้บริการร้านโชห่วยในจังหวัดชุมพร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test, One-way ANOVA, Correlation และMultiple Regression Analysis


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ 2) การตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการรับรู้ถึงปัญหา ด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านค้นหาข้อมูล และด้านการประเมินผลทางเลือก ตามลำดับ 3) เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจใช้บริการร้านโซวห่วย ไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยในทิศทางเดียวกัน 5) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านโชห่วยมี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไม่มีผลต่อการตัดสินใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนากาญจน์ ดวงใน. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

นภัทร ไตรเจตน์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (ร้านโชห่วย)กรณีศึกษา ในตลาดไท ปทุมธานี (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปฎิกร ทิพย์เลอฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

เปรมกมล หงส์ยนต์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชัน. ออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

เพ็ญแข สุขสวาท ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ และนฤมล วลีประทานพร. (2560). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้เครือข่ายทรูมูฟของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(11), 68-82.

มณีวรรณ บรรลุศิลป์ และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกดั้งเดิม (ร้านโชห่วย). วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,8(2), 1-15.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพ ฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.

ลภัสวีณ์ เลี้ยงเจริญสุข. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สเบเกอรี่ออนไลน์ผ่าน Facebook ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 7(1), 187-200.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมพล ทุ่งหว้า. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 และนานาชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี, 143-156.

สรีพิพรรธ การุญเมธีวัฒนกุล และธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแว่นสายตาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์(เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.