วิธีการสร้างความสุขตามหลักพุทธปรัชญา

Main Article Content

จักรพงษ์ ทิพสูงเนิน
รวิช ตาแก้ว
กีรติ บุญเจือ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความสุข และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความสุขตามหลักพุทธปรัชญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลจากเอกสารจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิ นำมาวิเคราะห์ผลด้วยวิธีพรรณนา


          ผลวิจัยพบว่า 1) แนวคิดเกี่ยวกับความสุข วิเคราะห์ได้ว่าความสุขคือ การสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยมีทั้งความสุขที่เป็นส่วนตน และส่วนรวม ส่วนความสุขทางพระพุทธศาสนา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ความสุขในระดับโลกีย และความสุขในระดับโลกุตร แต่ทางพระพุทธศาสนาเน้นความสุขในระดับโลกุตรสุข เพราะเป็นความสุขที่ไม่เจือปนในกิเลส อันปราศจากความทุกข์ทั่งปวง จนถึงการหมดสิ้นจากกิเลส จนเข้าถึงบรมสุข คือ พระนิพพาน และ 2) วิธีการสร้างความสุขตามกระบวนทรรศน์ต่าง ๆ ดังนี้ 1) กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ ได้เน้นการสร้างความสุขในระดับร่างกาย 2) กระบวนทรรศน์ยุคโบราณบรรพ์ ได้เน้นการสร้างความสุขในระดับร่างกาย และยังส่งเสริมการสร้างความสุขในระดับจิตใจด้วย ซึ่งเป็นความสุขทางปัญญานั้นเอง 3) กระบวนทรรศน์ยุคกลางได้เน้นเสริมสร้างความสุขในระดับโลกุตรสุขมากกว่าโลกียสุข 4) กระบวนทรรศน์นวยุคไม่ยอมรับการเสริมสร้างความสุขในระดับโลกุตรสุข แต่ยอมรับวิธีการสร้างความสุขในระดับโลกียสุขที่เป็นความสุขทางกายทั้งหมด และ 5) กระบวนทรรศน์หลังนวยุค เป็นการยอมรับวิธีการสร้างความสุขทั้งในระดับโลกียสุขและระดับโลกุตรสุข ว่าเป็นความสุขระดับโลก เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำและเป็นความสุขสูงสุดในทางปรัชญาศาสนา เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยม ในการสนับสนุนให้เกิดความสงบสุขและสันติภาพแก่โลกได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ บุญเจือ. (2528). ชุดพื้นฐานปรัชญา จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

กีรติ บุญเจือ. (2546). ชุดเซนต์จอห์นสอนปรัชญาภาษาง่ายเล่มต้น ปรัชญาประสาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2547). ศาสนา ชีวิต และสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุขภาพใจ.

เดือน คำดี. (2534). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญมี แท่งแก้ว. (2545). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). หลักพุทธศาสนาที่บอกว่าอะไรเป็นอะไร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2553). หัวใจนิพพาน. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551) วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วศิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: เม็ดทราย.

วศิน อินทสระ. (2556). โวทานธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สมุทรปราการ: ก้อนเมฆ.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2538). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2549). พุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.