การนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วง พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2565

Main Article Content

อาลักษณ์ เจนเสถียรวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการการนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วง พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2565; 2) ความพึงพอใจและทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อการนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วง พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ.2565 และ
3) ปัญหาและอุปสรรคการนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุไปปฏิบัติ จำนวน 7 คน ใช้วิธีการการสุ่มแบบเจาะจงและการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับผู้สูงอายุที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบโควตา ตามจำนวน 50 เขต เขตละ 8 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการการนำนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลักคือ (1) กรมกิจการผู้สูงอายุ (2) คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และ (3) สำนักพัฒนาสังคมและสำนักงานเขตทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร 2) ความพึงพอใจและทัศนคติของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาและอุปสรรคแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) เจ้าหน้าที่ ปัญหาที่พบคือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการขาดความรู้ความเข้าใจ เจ้าหน้าที่ระดับสูงไม่ติดตามประเมินผลนโยบาย ทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ และการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง และ
(2) ผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบคือความล่าช้าของการขั้นตอนการทำงาน สวัสดิการที่ได้รับไม่ได้แก้ไขให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีคุณภาพที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพัฒน์ นนท์ปัทมะดุล. (2544). นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2565). (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://shorturl.asia/0gSuV

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (ม.ป.ป.-ก). รายงานการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปี พ.ศ 2555-2562. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/1/274

กรรณิการ์ รุจิวรโชติ. (2563). การศึกษาความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ:

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). รู้จัก “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” พร้อมส่อง 5 เขต กทม. มีคนสูงวัยมากที่สุด. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1022359

กรวินท์ กรประเสริฐวิทย์ .(2558). ทัศนคติความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรม และคุณลักษณะการใช้งานของเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้เครื่องชำระค่าโทรศัพท์อัตโนมัติของประชาชนในกรุงเทพฯ ปี 2558 .บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จักรพงษ์ ฟองชัย และคณะ. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อนโยบายสาธารณะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 8(1), 75-85.

ฐิวรา โรจนสกุลเกตุ. (2556). ทัศนคติของประชาชนที่มีต๋อการดําเนินนโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : ศึกษากรณีชาวจังหวัดอุบลราชธานี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

เดอะแอคทีฟ ไทยพีบีเอส. (ม.ป.ป.). รัฐสวัสดิการทางเลือกสู่การสร้างคนให้เท่ากันในสังคม?. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://theactive.net/dataviz/welfare

ไทยคู่ฟ้า. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. วารสารสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ฉบับเดือนเมษายน - มิถุนายน 2561

พงษ์เทพ สันติกุล. (2550). โลกาภิวัตน์: บทบาทและอิทธิพลต่อกระบวนการกาหนดนโยบายการศึกษาและ สาธารณสุขของไทย. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มยุรี อนุมานราชธน. (2556). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณไปปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ศิรินาถ ตงศิริ และคณะ. (2561). ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 7-26.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สำนักพัฒนาสังคม. (ม.ป.ป.-ก). ระบบเรียกดูข้อมูลของสำนักพัฒนาสังคม. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://commu.bangkok.go.th/stat

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัย สำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุพจน์ บุญวิเศษ. (2561). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับตำบลอย่างมีส่วนร่วม.วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(2), 217-232.

อภินันท์ จันตะนี. (2561). พุทธรัฐศาสตร์สำหรับการส่งเสริมความมั่นคงแห่งพลเมือง.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 287-966.

อมรารัตน์ บุญภา. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Yoder, D. (1985). Personnel principles and policies. NJ: Prentice Hal