การสื่อสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในเทศบาลตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ภาวัช รุจาฉันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) การสื่อสารทางการเมืองของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่เทศบาลตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และ 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
ที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่เทศบาลตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเทศบาลตำบลบางสีทอง ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Cochran สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิธีสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าการสื่อสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน
มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาท้องถิ่นในเทศบาลตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา รุจิโชค. (2564). การสื่อสารการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณ์รัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), 25-34.

ภูริทัศน์ ชาติน้ำเพชร. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(1), 37-46.

เบญจวรรณ แจ่มจำรุญ. (2557). ปัจจัยบรรยากาศในการสื่อสารภายในองค์กร กระบวนการในการสื่อสาร และสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสารภายในองค์กรของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญเสริม นาคสาร. (2549). ผลในทางปฏิบัติของการมีส่วนร่วมทางการเมืองประชาชน. เอกสารประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 7 เรื่อง การเมืองฐานประชาชน: ความยั่งยืนของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.

วัฒนา นนทชิต. (2559). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3), 80-87.

วัฒนา นนทชิต และ กรวิทย์ เกาะกลาง. (2565). การสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นยุคดิจิทัลในการส่งเสริมพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่ระดับอุดมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 297-311.

ศราวุธ ขันธวิชัย และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 703-720.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเชาว์ ชยมชัย. (2564). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบพีระมิด. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(1), 95-104.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง. (2551). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chesebro, J. W. (1976). Political communication. Quarterly Journal of Speech, 62(3), 289-300.

Graves, L., & Konieczna, M. (2015). Qualitative political communication| sharing the news: Journalistic collaboration as field repair. International Journal of Communication, 9, 19.

Ruedin, D. (2007). Testing Milbrath's 1965 Framework of Political Participation: Institutions and Social Capital. Contemporary Issues & Ideas in Social Sciences, 3(3), 1-46.