ปัจจัยที่มีผลต่อผลสำเร็จของการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตของ บุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

์Naruemon Chakchai

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อผลสำเร็จของการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตของบุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต ที่มีผลด้านความถูกต้องแม่นยำ การป้องกันข้อมูลสูญหาย การลดทุจริต และการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร


          กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้ คือบุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ (1) การยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต มีผลต่อความถูกต้อง แม่นยำ ลดความผิดพลาด พบว่า บุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณประโยชน์ของระบบ (2) การยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต มีผลต่อการป้องกันข้อมูลสูญหาย พบว่า บุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพของสารสนเทศ และปัจจัยด้านคุณประโยชน์ของระบบ (3) การยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต มีผลต่อการลดทุจริต พบว่าบุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ และปัจจัยด้านคุณประโยชน์ของระบบ (4) การยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต มีผลต่อการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย พบว่าบุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร  ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณประโยชน์ของระบบ


          ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า บุคคลธรรมดาในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พิจารณาถึงคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของระบบ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอินเทอร์เน็ต ผลการวิจัยจึงเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าให้มากที่สุด อันเป็นการส่งเสริมนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในอีกทางหนึ่งด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2547). กรมสรรพากรเผยการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร.

สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://www.ryt9.com/s/prg/129605

กรมสรรพากร. (2561). คู่มือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารนิเทศสรรพากร.

กรมสรรพากร.

กรมสรรพากร. (2561). ประโยชน์ที่ได้รับจากการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต . สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566,

จากเว็บไซต์: https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php?page=benefit

กรมสรรพากร. (2561). Thailand 4.0 กับการแจ้งสิทธิเพื่อรับประโยชน์ทางภาษี [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์].

วารสารสรรพากร. ปีที่ 7 (75), 26.

กรมสรรพากร. (2562). กรมสรรพากรแนะยื่นแบบผ่านออนไลน์พ่วงพร้อมเพย์ได้รับเงินคืนภาษีว่องไว.

สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://www.thaipost.net/

main/detail/0000025729

ธันยนันท์ มงคลธิติวัฒน์. (2556). การเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้เสีย

ภาษีในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชัยภูมิ. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ

จัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และวาสนา ดวงดารา, (2554).การบัญชีภาษีอากร.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร :

ทีพีเอ็น เพรส.

ศิริรัตน์ มุขดารา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทาง

ระบบอินเทอร์เน็ตในสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์

มหาบัณฑิตจิตวิทยาการปรึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). การยื่นแบบผ่านชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต.

กรุงเทพมหานคร: กรมสรรพากร.

อาชนเทพ อัครสุวรรณ์. (2558). การศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความสาเร็จของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทางการบัญชีในองค์กรภาครัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

อุศณี กอจิตตวนิจ. (2553). ความพึงพอใจของผู้เสียภาษีต่อการยื่นแบบและชาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่าน

อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เอมอร พลวัฒนกุล และสมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร. (2550). “สาเหตุของการไม่ยื่นแบบและชำระภาษีผ่าน

อินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต”. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตหาดใหญ่.

Taxslayer. (2019). What are the Benefits of E-Filing Your Income Tax Return? Retrieved May

, 2023 from https://www.taxslayer.com/support/10128/5-Benefits-of-E-Filing-Your-

Income-Tax?language=1&page=4&q=job%20searchexpenses

William H. DeLone & Ephraim R. McLean. (2003). Information Systems Success Measurement.

Foundations and Trends in Information Systems,2016 (2), 9-11.

William H. DeLone & Ephraim R. McLean. (2003). The DeLone and McLean Model of Information

Systems Success: A Ten-Year Update [Electronic version]. Journal of Management

Information Systems, 2003 (19), 23-26.

Wixom & Watson. (2001). Modification of Delon and Mclean Model in the Success of Information

System for Good University Governance [Electronic version]. The Turkish Online

Journal of Educational Technology, 2015 (14), 115