ปัจจัยที่่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้งานหุ่นยนต์ “สวัสดีพยาบาล” ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการบริการของ “หุ่นยนต์สวัสดีพยาบาล” ของประชาชนที่ใช้บริการในโรงพยาบาลชัยภูมิ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนต่อคุณภาพการบริการของ “หุ่นยนต์สวัสดีพยาบาล”ของประชาชนที่ใช้บริการในโรงพยาบาลชัยภูมิ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่ได้ใช้บริการโรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 400 ราย ใช้สูตรการคำณวน W. G. Cochran เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลชัยภูมิ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องหุ่นยนต์ จำนวน 10 คน ได้กำหนดข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการบริการของหุ่นยนต์ “สวัสดีพยาบาล” รายด้านโดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากทุกด้าน และ 2) ระดับความต้องการของประชาชนต่อคุณภาพการบริการของหุ่นยนต์ “สวัสดีพยาบาล” โดยภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากทุกด้าน “หุ่นยนต์สวัสดีพยาบาล” ควรต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้สูงกว่านี้ในการให้บริการผู้ป่วยด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหุ่นยนต์ในด้านการเคลื่อนไหว และวิธีการใช้งานให้ผู้มารับบริการเข้าใจง่ายใช้เป็น
Article Details
References
กระทรวงมหาดไทย. (2563). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564 จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate3/Area/statpop?yymm=64&ccDesc=จังหวัดชัยภูมิ&topic=statpop&ccNo=36
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2557). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ฤทธิ์ คงสุข สุทัศน์ สีงาน และเอกลักษณ์ การีซอ. (2551). หุ่นยนต์เดินตามเส้นโดยกล้องเว็บแคม. (ปริญญานิพนธ์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. (2556). หุ่นยนต์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2563). สวนสุนันทาจับมือ CT Asia Robotics พัฒนานวัตกรรม "หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ". ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://udon.ssru.ac.th/news/view/dgqqegt552
พัชรมน เชื้อนาคะ. (2560). คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์การพิมพ์.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.
อดิศยา เจริญผล. (2555). ความรู้พื้นฐานด้านหุ่นยนต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Carrelli, R. (2009). Control de Robots Moviles. Universida Nacional de Argentina. Escuela de Ingenieros Industriales, Madrid.
Clavel, R. (1987). Device for displacing and positioning an element in space. patent number: Wo8703528a1.
Gronroos, C. (1984). Strategic Management and Marketing in the Public Sector. Finland: Swedish School of Economics and Business Management.
Kim, Y. (2005). Dynamic Analysis of a Nonholonomic Two-Wheeled Inverted Pendulum Robot. Journal of Intelligent and Robotic Systems, 44(1), 25- 46.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.
Nomura T, Sugimoto K, Syrdal, D. S, & Dautenhahn K. (2012). Social acceptance of humanoid robots in Japan: A survey for development of the Frankenstein syndrome questionnaire. In Proc. International Conference on Humanoid Robots (Humanoids), 2012. 12th IEEERAS International Conference on. 2012. 242–7.
Oliver, C. (1997). Sustained Competitive Advantage: Combining Institutional and Resource Based Views. Strategic Management Journal, 18(9), 697 - 713.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Perez, et al. (2012). Steps in the development of a robotic scrub nurse. Robot Auton Syst, 60(6), 901– 911. In Humanoid Robots (Humanoids), 12th IEEERAS International Conference on 2012.