ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของภาคสังคมและโครงการส่งเสริมในการพัฒนา 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐ การมีส่วนร่วมของภาคสังคม และโครงการส่งเสริมในการพัฒนาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน เพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้หลักเกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย นายก-รองนายกองค์การปกครองส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ นายกเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสภาเด็กและเยาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการมีส่วนร่วมของภาคสังคม ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการส่งเสริมในการพัฒนา และนโยบายของภาครัฐ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) นโยบายของภาครัฐมีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาสภาเด็กและเยาชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ โครงการส่งเสริมในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของภาคสังคม ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย นโยบายของภาครัฐที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีโครงการส่งเสริมในการพัฒนา และภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ตรงกลาง และการมีส่วนร่วมของภาคสังคมช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นความสำเร็จของการพัฒนาสภาเด็กและเยาชนเพื่อชุมชนเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ต้องประกอบด้วย สิทธิในการอยู่รอดและการส่งเสริมชีวิต สิทธิในการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการศึกษา และสิทธิในการใช้แรงงานเด็ก ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อการนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และใช้เป็นแนวทางให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นไปใช้ในการพัฒนาสภาเด็กและเยาชน ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ. (2560). ภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
คณาพร ปิ่นกุมภีร์. (2562). ครูจะช่วยดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้อย่างไร. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก http://kri2.esdc.go.th/bthkhwam
ชานนท์ โกมลมาลย์. (2561). การวิจัยประเมินผลการพัฒนาสภาเด็กและเยาวชน. Journal of Social Work, 24(1), 105-134.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). การเล่นเพื่อการเรียนรู้ ในเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาออทิสติก สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.
ธนวิทย์ บุตรอุดม. (2563). กำหนดยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 4(2), 15-25.
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2562). แนวทางการจัดการคุ้มครองสวัสดิภาพและสังคมสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, 16(1), 12-25.
วิชัย ตันศิริ. (2562). โฉมหน้าการศึกษาในอนาคต: ความสำคัญของการปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
วชิรวัตติ์ อาริยะสิริโชติ. (2561). การวินิจฉัยระบบองค์กรเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชน. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2)33-56.
อนุพงศ์ จันทะแจ่ม. (2562). การศึกษาและพัฒนาข้อเสนอเพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนและกลุ่มเด็กและเยาวชนริเริ่มทำกิจกรรมสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาในชุมชนสังคมของตนเอง. วารสารพัฒนศาสตร์, 2(2), 62-101.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). นโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชน. ค้นเมื่อ 25 เมษายน 2567, จาก http://www.dla.go.th/index.jsp.
Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4), 216-224.
Anderson, J. E. (1994). Public Policy–Making: Introduction. 2nd. New York: Houghton Mifflin Company.
Avolio, B.J. (2018). Organizational Transformation: How to achieve it, one person at a time. Stanford, CA: Stanford University Press.
Collins, M. E., Augsberger, A., & Gecker, W. (2016). Youth councils in municipal government: Examination of activities, impact, and barriers. Children and Youth Services Review, 65, 140-147.
Collins, T. M. (2017). A child's right to participate: Implications for international child protection. The International Journal of Human Rights, 21(1), 14.
Forde, C., & Martin, S. (2020). Children and young people’s right to participate: National and local youth councils in Ireland. The International Journal of Children's Rights, 24(1),135-154.
Grace, J. B. (2008). Structural equation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.
Greenspan, S. I., & Wieder, S. (2008). The interdisciplinary Council onDevelopmental and Learning Disorders Diagnostic Manual for Infants and Young Children – An Overview. J Can Acad Child Adolesc Psychiatry, 17(2), 76–89.
Hart, R. A. (1997). Children’s Participation. The Theory and Practice of Involving Young Citizens in Community Development and Environmental Care. New York and London: UNICEF.
Nir, T., & Perry-Hazan, L. (2020). The framed right to participate in municipal youth councils and its educational impact. Children and Youth Services Review, 69,174-183.
Wright, B. E., & Pandey, S. K. (2010). Transformational leadership in the public sector: Does structure matter. Journal of Public Administration Research and Theory, 20(1), 75-89.