การจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาทักษะชีวิต

Main Article Content

นงคราญ สุขเวชชวรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมส์เป็นฐาน ใช้แบบสอบทดสอบ การเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมส์เป็นฐาน ประกอบด้วย แผนการสอน 1 แผน ประกอบด้วย กระบวนการสอน กิจกรรม สื่อ การทวนสอบ มีการตรวจสอบคุณภาพโดยการให้คณะอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาทักษะชีวิตดำเนินการพิจารณาและปรับแก้ไข และข้อสอบ นักวิจัยได้จัดทำ Test Blue Print และออกข้อสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย (ในมหาวิทยาลัย) จำนวน 28  คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ t-test dependent


          ผลการวิจัย พบว่า การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรายวิชาทักษะชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนโดยใช้เกมส์เป็นฐานเป็นหลัก แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติในทักษะชีวิตระหว่างก่อนและหลังการใช้เกมเป็นฐานในการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยทักษะชีวิตก่อนการเรียนเท่ากับ 18.11 และหลังการเรียนเท่ากับ 20.36 และได้นำเสนอแผนการสอนที่ชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วยกระบวนการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการใช้เกมส์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการสอบที่ช่วยให้นักศึกษาปรับปรุงและฝึกฝนทักษะในระหว่างการเรียนรู้ เพื่อให้การวิจัยเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ จอมแปง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณ และแรงจูงใจในการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิราภรณ์ อดุลวัฒนศิริ. (2536) ผลของการใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2559). Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 43 (2), 127-136.

ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ. (2537). เรื่องน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวัช ปานสุวรรณ. (2554). ผลการเรียนด้วยเกมคอมพิวเตอร์แบบเล่นตามบทบาทและการสอนแบบสตอรีไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์. (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประไพ สุวรรณสารคุณ. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม. (ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ไพโรจน์ คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก http://priroj.orgfree.com/pdf30/10การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน.pdf

พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ตี้พรินท์ จำกัด.

พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอรร์มิสท์.

วรัตต์ อินทสระ. (2562). Game Based Learning The Latest Trend Education 2019 เปลี่ยนห้องเรียน

เป็นห้องเล่น. เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น” [Game Based Learning]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ยุดาพงศ์ คงช่วย, (2564). ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนโดยใช้แอพลิเคชันคาฮูท(kahoot) วิชาการตลาดเบื้องต้นของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชล บริหารธุรกิจ. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก https://www.m-bac.ac.th/attachments/view/?attach_id=263201

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560) หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก

http://academic.obec.go.th/images/document/1590998426_d_1.pdf

อรทัย ทองมั่ง. (2549). ผลการใช้เกมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. (ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

อธิป อนันต์กิตติกุล (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Fuszard, B., Lowenstein, A. J., & Bradshaw, M. J. (2001). Fuszard's innovative teaching strategies in nursing. (3 ed.). Gaithersburg, MD: Aspen Publishers

Plook Teacher. (2563). ทรุปลูกปัญญา. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567 จาก https://www.trueplookpanya.com/

Piaget, J. (1962). The Stages of the Intellectual Development of the Child. Bulletin of the Meninger Clinic, 26(3), 120-128.

Tekinbas, K. S., & Zimmerman, E. (2004). Rules of play: Game design fundamentals (1 ed.). MIT press.