ภูมิภาคนิยมทางการเมืองกับการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566: การได้รับชัยชนะของพรรคการเมืองไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จิรัฏฐ์ จึงตระกูล

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้รับชัยชนะของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิดภูมิภาคนิยมทางการเมืองและองค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงอย่างมีแบบแผนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้ใช้วิธีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 ในภูมิภาคตะวันออกฉียงเหนือมี 2) นักวิจัย/นักวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ3) ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาเชิงเอกสาร
          ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดภูมิภาคนิยมทางการเมืองยังมีอิทธิพลต่อการได้รับชัยชนะของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสะท้อนผ่านพฤติกรรมนิยมทั้งฝ่ายสถาบันทางการเมืองและฝ่ายผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีองค์ประกอบที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ ชื่อเสียงพรรคการเมือง ความนิยมต่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และนโยบายของพรรคการเมือง ส่วนการซื้อเสียงด้วยเงินไม่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแม้พบเจอการซื้อเสียงทุกรูปแบบ แต่ไม่เป็นผลสำคัญที่ให้พรรคการเมืองไทยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษ เพิ่มทันจิตต์. (2563). รัฐสวัสดิการสังคมสวัสดิการหรือประชานิยมทางแยกสามสายสําหรับเป็นทางเลือกสาธารณชนในประเทศไทย. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 58-82.

จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ และพิศมัย ศรีเนตร. (2563). ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเมือง บทสะท้อนจากการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 จังหวัดสุรินทร์. วารสารสถาบันพระเกล้า, 18(1), 129-145.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2563). การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง

และผู้สมัคร วิเคราะห์จากการเลือกตั้ง 3 กค. 2554. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(2), 5-28.

เทอดศักดิ์ ไป่จันทึก และคณะ. (2563). การแข่งขันและปัจจัยที่มีผลต่อชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 18(3), 58-78.

เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2539). ท้องถิ่นนิยมและภูมิภาคนิยมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

ธรรมรัตน์ ธรรมยาฤทธิ์. (2561). ความนิยมทางการเมืองของประชาชนหมู่บ้านเสื้อแดงจังหวัดอุดรธานีที่มีต่อพรรคเพื่อ

ไทยภายหลังการรัฐประหาร 2557. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(3), 29-48.

นิธิ เนื่องจำนงค์. (2561). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 20 ในเกาหลีใต้ และนัยที่มีต่อภูมิภาคนิยม. International Journal of East Asian Studies, 21(1), 63-83.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2563). WHEN WE VOTE พลวัตการเลือกตั้งและประชาธปไตยในอาเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2566). วิเคราะห์ผลทางการเมืองของกฎหมายเลือกตั้งในประเทศไทย(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า.

พงศกร อรรณนพพร, สุรพล ราชภัณฑารักษ์, สมบูรณ์ สุขสำราญ และอเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2562). การสร้างและการรักษาฐานสนับสนุนทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 244-253.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และสุจิต บุญบงการ. (2525). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของไทย : แนวทางศึกษาและผลการศึกษาในอดีต. วารสารสังคมศาสตร์, 19(3), 28-60.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2567). สังคมวิทยาการเมือง Political Sociology (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

ไวยวิทย์ ลีลานุ, ธนาสฤษฎิ์ สตะเวทิน และสัณหณัฐ จักรภัทรวงศ์. (2563). ภูมิภาคนิยมในการเมืองไทยของพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทยในภาคเหนือ. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(33), 13-31.

วรัญญา ศรีริน และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2566). บทวิเคราะห์ทางสังคมวิทยาการเมืองว่าด้วยวัฒนธรรมทางการเมืองหลักของชาวบ้าน: กรณีศึกษาหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งในภาคอีสานเหนือ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 21(1), 111-131.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2557). ความนิยมของคนอีสานที่มีต่อพรรคเพื่อไทย กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 75-100.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2563). พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงตั้งและการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 18(1), 89-107.

สุทธาสินี ลำภาษี และอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2561). ความเป็นเมือง ความเป็นภูมิภาคนิยม และพฤติกรรมการเลือกตั้ง ในประเทศไทย: ตัวแบบวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(3), 77-98.

ก (นามสมมติ). (20 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดศรีสะเกษ. สัมภาษณ์

ข (นามสมมติ). (20 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์

ง (นามสมมติ). (21 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์

จ (นามสมมติ). (22 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดศรีสะเกษ. สัมภาษณ์

ช (นามสมมติ). (23 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์

ฑ (นามสมมิต). (22 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดศรีสะเกษ. สัมภาษณ์

ถ (นามสมมติ). (23 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดยโสธร. สัมภาษณ์

บี (นามสมมติ). (4 มิถุนายน 2566). ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคการเมืองแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สัมภาษณ์

ฝ (นามสมมติ). (23 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดยโสธร. สัมภาษณ์

ว (นามสมมติ). (21 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์

ษ (นามสมมติ). (21 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดหนองบัวลำภู. สัมภาษณ์

ห (นามสมมติ). (20 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์

อ (นามสมมติ). (21 เมษายน 2566). ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์

เอ (นามสมมติ). (18 เมษายน 2566). นักวิจัย/นักวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สัมภาษณ์