พัฒนาการนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการเกี่ยวกับนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทย ในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564 2) ความคิด การเคลื่อนไหว และนโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2500-2564 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการจัดการที่ดินของภาครัฐกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศ ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการจัดการที่ดินของรัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น มีการปรับกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนและให้เอกชนสะดวกยิ่งขึ้น แต่เกิดปัญหาที่ดินที่ส่งผลให้ชาวนาชาวไร่ประท้วง ในท้ายที่สุดมีการก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของประชาชนในยุคที่ประชาธิปไตยกำลังเข้าสู่การเติบโต 2) การปรับกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนของเอกชนและเพิ่มความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจที่สร้างงานและรายได้ และการเกิดปัญหาที่ดินที่มีผลต่อชุมชนชาวนาชาวไร่ เช่น วิกฤตการเงินปี พ.ศ. 2540 เป็นเหตุผลที่ภาครัฐมุ่งพัฒนานโยบายและนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ 3) นโยบายการจัดการที่ดินของภาครัฐในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับการเมืองและการปกครองที่มีผลกระทบต่อทั้งการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย การบริหารจัดการที่ดินของภาครัฐ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทั้งการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศไทย ในทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางนโยบายและการดำเนินการ
Article Details
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก https://www.mnre.go.th/th/view/
การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ. (2559). สถานการณ์ที่ดินรัฐ. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก https://www.pacc.go.th/pacc_2015/onemap/pages-about-us.html
คมสันต์ บัวติ๊บ และจันทนา สุทธิจารี. (2561). การเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษานโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(1), 1-28.
นัชชา ทิพเนตร. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนและรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการ พัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 395-396.
ปวีณา เกื้อนุ้ย. (มปป). การจดัการภาครัฐแนวใหม่กับการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ: กรณีศึกษาสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2553). กระบวนการกำหนดนโยบายที่ดินในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.2475-2500 (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรัญญู เทพสงเคราะห์. (2553). การกำหนดนโยบายจัดสรรที่ดินในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2491-2500. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2557). มโนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(2), 68-80.
อาทิตยา พองพรหม และวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์. (2557). พัฒนาการการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ ป่าไม้ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.
Cobb, S. (1976). Social support as moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 34, 300-314.
Easton, D. (1953). The Political System. New York: Knopf.
Harold D. Lasswell & Abraham Kaplan. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press.
Hood, Christopher C. (1991). A Public ManagementFor AllSeasons. Public Administration, 69(1),3-19.
John E., Milan J. Dluhy & Roger M. Lind. (1981). New Strategic Perspectives on Social Policy. (Subtitle): (Pergamon Policy Studies on Social Policy series). Tropman Paperback: Pergamon Press, NY.
Kingdon, J.W. (1984). Agendas, Alternatives, and Public Policies. Boston: Little, Brown.
Mc Closky, H. (1968). Political Participation. In International Encyclopedia of the Social Science. New York: McMillan and Free Press.
William, W. Boyer. (1975). Implementation Analysis and Assessment. Policy Analysis, 1(3), summer.