การศึกษาความพร้อมที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

Main Article Content

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์
สุภาวดี เลิศสำราญ
ภัทฐิตา พงศ์ธนา
สุจิตรา อู่รัตนมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการงานวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความพร้อมของที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุความปลอดภัยของสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพในสถานที่พักในแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงทั้งหมด 27 โรงแรม-รีสอร์ท ที่สมัครใจเข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของโรงแรม และแบบประเมินมาตรฐานด้านสถานที่ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ


ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 100 มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกตามมาตรฐานโรงแรม แต่ยังไม่มีความพร้อมด้านห้องน้ำในห้องพักอาศัย ที่เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยพบว่ามีโรงแรมที่พักเพียง ร้อยละ 44.44 ที่ห้องน้ำไม่ลื่นมีพื้นเรียบเสมอกัน และมีเพียงร้อยละ 40.74 ที่มีที่นั่งอาบน้ำที่พนักพิงที่มั่นคงและมีราวจับช่วยพยุง นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียงร้อยละ 18.51 ของโรงแรมที่พักในการศึกษาครั้งนี้ที่มีราวพยุงจากประตูไปถึงโถส้วมและที่นั่งอาบน้ำ เมื่อพิจารณามาตรฐานด้านความปลอดภัยส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน แต่มีข้อที่ควรปรับปรุงเพื่อความปลอดภัย โดยพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 100.00 ไม่มีความพร้อมในการเตรียมให้มีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED) รองลงมาร้อยละ 40.74 ไม่มีอุปกรณ์สัญญาณเรียกฉุกเฉิน และพบว่า ร้อยละ 40.74 ไม่มีการจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับอัคคีภัยและการช่วยฟื้นคืนชีพตามมาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารวี รื่นจิตต์ และมนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2560). นวัตกรรมการบริการของโรงแรมที่พักเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 และการประชุมวิชาการนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 8), ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค.

ชวัลนุช อุทยาน. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว. คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566 จาก, http://touristbehaviour.wordpress.com/1

ปริญญา นาคปฐม และระชานนนท์ ทวีผล. (2561). การพัฒนาคุณภาพงานบริการทางการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรม ราชูปถัมภ์, 12(1), 255-269.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2560). ไขกลยุทธ์ ‘ททท.’ปี60 ขับเคลื่อนท่องเที่ยวโต10%. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566 จาก, https://www.thansettakij.com/

วริศรา วาริชวัฒนะ และกุลเชษฐุ์ มงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกที่พักแรมในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มช, 6(2), 107-118.

Bowie, D. & Buttel, F. (2013). Hospitality Marketing. USA: Taylor & Francis.

Burim Otakanon & Sakawarat Rinwilairat. (2018). The physical aspects of bedroom bathroom and living room for elderly people. ค้นเมื่อ 27 กรกฏาคม 2021, จากhttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1472

Chomjan, T & Pachakawe, M. (2020). Process and Outcomes of Cardiopulmonary Resuscitation in the Intensive Care Unit. APHEIT Journal of Nursing and Health, 2(3), 16-32.

Chuapung, B., Praditphonlert, N., Warusukhasiri, R. & Pooripakdee, S. (2018). Hotel Services Management for Thai Elderly Tourists Staying at PhraNakhonSi Ayutthaya Province. Journal of Information, 17(2), 71-84.

Loomba, N. P. & Holsinger, A. O. (1978). Management: A Quantitative Perspective: Macmillan.

Plermkamon, C & Thangchan, W. (2564). Hotel Context for the Elderly Tourists in the Northeastern. The 22nd National Graduate Research Conference (Online Conference). ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/22nd-ngrc-2021/HMO7/HMO7.pdf

Samutsongkhram Province. (2554). กิจกรรม และประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสงคราม. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก http://www.samutsongkhram.go.th/