ผลกระทบของทักษะความเป็นมืออาชีพและการบริหารจัดการ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สำนักงานบัญชีคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. ทักษะความเป็นมืออาชีพและการบริหารจัดการที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้สำนักงานบัญชีคุณภาพด้านการติดต่อสะดวกรวดเร็ว 2. ความเป็นมืออาชีพและการบริหารจัดการที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้สำนักงานบัญชีคุณภาพด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ 3. ทักษะความเป็นมืออาชีพและการบริหารจัดการที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้สำนักงานบัญชีคุณภาพด้านราคาเหมาะสม 4. ทักษะความเป็นมืออาชีพและการบริหารจัดการที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้สำนักงานบัญชีคุณภาพด้านทำเลที่ตั้ง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มสำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่ขึ้นทะเบียนคุณภาพกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ใช้สูตร Yamane จำนวน 216 ชุด ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการติดต่อสะดวก รวดเร็ว โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจ ในด้านการติดต่อที่สะดวกและรวดเร็ว 2. ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีผลกระทบเชิงบวกในการตัดสินใจ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของลูกค้า 3. ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านราคาที่เหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีผลกระทบเชิงบวก เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดลูกค้าและช่วยให้ตัดสินใจเลือกใช้บริการ 4. ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านทำเลที่ตั้ง โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ผลกระทบเชิงบวก เป็นปัจจัยที่ทำให้สำนักงานบัญชีคุณภาพมีความสะดวกต่อการเข้าถึงและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า
Article Details
References
กุลธิดา ธนสมบัติศิริ และดารณี เอื้อชนะจิต. (2565). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 12-23
กลมภู สันทะจักร (2560) คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ชลิดา ลิ้นจี่, สุภาพร บุญเอี่ยม และ ชัยสิน สุขวิบูลย์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการสำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 891-905
ทิพย์ปาลิดา วรัญชิตอัคริมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสำนักงานบัญชี ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ต.
นงนุช สารทอง (2550) ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีของผู้ประกอบธุรกิจในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
นภาพร หงส์ภักดี (2554) ได้วิจัยเรื่อง การเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นภัสสินี เปรื่องการ (2562) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สำนักงานบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตภาคกลาง. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประชาติธุรกิจ. (2564). การบริหารจัดการภาษี ความท้าทายยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2567, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-765168
พจนีย์ สุวรรณโพธ์ (2561) องค์ประกอบที่ส่งผลให้บริการที่มีคุณภาพของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านมีการจัดทำสัญญาและให้บริการลูกค้าที่น่าเชื่อถือ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิมพ์พงศ์ ธีรบดี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รุ่งฟ้า ยิ่งจรัสแสง (2545) การเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ ในจังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2567) แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2567-2569. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2567, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-outlook-2024-2026
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2567). มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2567, จาก https://www.tfac.or.th/Home/Main
สิทธิชัย ทรัพย์แสนดี (2563) การบริหารสำนักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของสำนักงานบัญชีดิจิทัลในประเทศ ความพร้อมของสำนักงาน. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Andersen, T. J. (2001). Information technology, strategic decision-making approaches, and organizational performance in different industrial settings. The Journal of Strategic Information Systems, 10(2), 101-119.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Prentice-Hall.
Bostan, R. I., Nastasia, S. C., & Ciobanu, A. M. (2020). The Impact of Managerial Accounting Tools in Decision-Making. LUMEN Proceedings, 10, 221-233.
Crosby, P.B. (1979) Quality Is Free: The Art of Making Quality Certain. McGraw-Hill, New York.
Dewey, J. (1933). How We Think: A Restatement of the Relation of Reflective Thinking to the Educative Process. Boston, MA: D.C. Heath & Co Publishers.
Feghali, K., Matta, J., and Moussa, S. (2023). Digital transformation of accounting practices and behavior during COVID-19: MENA evidence. EDITURA ASE.
Gardner, H. (1983). Frames of Mind: A Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Books.
Gigerenzer, G. (2007). Gut feelings: the intelligence of the unconscious. New York: Penguin Books.
Ishikawa, K. (1985) What Is Total Quality Control? The Japanese Way. Translated by Lu, D.J., Prentice-Hall, Englewood Cliffs, New Jersey.
Juran, J.M. (1992) Juran on Quality by Design: The New Steps for Planning Quality into Goods and Services. Free Press, New York.
Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.
LT Accounting. (2024). The Future of Accounting: Embracing Technology Trends. ค้นเมื่อง 18 ธันวาคม 2567, จาก https://ltaccounting.uk/the-future-of-accounting-embracing-technology-trends/
Mayo, E. (2003). The human problems of an industrial civilization (1st ed.). London: Routledge.
Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: Creating and sustaining superior performance (Republished with a new introduction in 1998). New York, NY: Free Press.
Phelps, N. A., and Wood, A. M. (2018). The business of location: Site selection consultants and the mobilisation of knowledge in the location decision. Journal of Economic Geography, 18(5), 1023–1044.
Suthira Thipwiwatpotjana. (2021). Digital transformation of accounting firms: The perspective of employees from quality accounting firms in Thailand. Human Behavior, Development and Society, 22(1), 53-65.
Skinner, B. F. (1953). Science and Human Behavior. Macmillan.
Taylor, F. W. (1911). The principles of scientific management. New York: Harper & Brothers.
Vroom, V., and Yetton, P. (1973). Leadership and Decision-Making. Pittsburgh, PA: University of Pittsburgh Press.