การพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศึกษาระดับภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 440 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารระดับสูงของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำสมัยใหม่ รวมจำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ผู้นำวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืน ดังนี้ c2= 349.21 df = 176 p-value = .00000 , c2 / df = 1.98, RMSEA = .047, RMR = .029, SRMR = .035, CFI = .99, GFI = .93, AGFI = .90, CN = 272.40 โดยพบว่าภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำการเปลี่ยนแปลง การนำทางจิตวิญญาณ การนำเชิงวิสัยทัศน์ การนำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ การนำวิสัยทัศน์เชิงดิจิทัล และความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน มีค่าอยู่ระหว่าง .90 - .99 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ของผู้บริหารกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า SLTML Model โดยทางกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรการสร้างผู้นำเชิงดิจิทัลเพื่อพัฒนาองค์กรสู่องค์กรอัจฉริยะ สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและการเติบโตในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป
Article Details
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมชลประทาน. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: ชลประทาน
สถาพร นาคคนึง.(2561). ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำชลประทานในแปลงนาจาก พฤติกรรม
การใช้ปุ๋ย กรณีศึกษา : สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 9 (ท่าม่วง) อำเภอ ท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
ปรีชา วรารัตน์ไชย. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นําสมัยใหม่ในองค์การธุรกิจให้บริการโลจิ
สติกส์ไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24(1 มกราคม-เมษายน 2565): 97-110.
สุรัตน์ เปี่ยมศิริ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ
สำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะ ศิลปะศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกริก.
คงกฤช วุฒิสุชีวะ.(2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ
องค์การผ่านการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและการกำกับตนเองของข้าราชการทหารปืนใหญ่ต่อสู้
อากาศยาน. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรังสิต
สุกฤษฎิ์ ลิมโพธิ์ทอง. (2022). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์สําหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(9 กันยายน 2565). 61-79
อรพรรณ หันแถลง. (2563). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร สถานศึกษา ใน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวณีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล:
องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ:
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Anser, M.K., Shafique, S., Usman, M., Akhtar, N & Ali, M., (2021). Spiritual leadership and
organizational citizenship behavior for the environment: an intervening and
interactional analysis. J. Environ. Plan. Manag. 64 (8), 1496–1514
Usman, M., Ali, M., Ogbonnaya, C., & Babalola, M. T. (2021). Fueling the intrapreneurial
spirit: A closer look at how spiritual leadership motivates employee intrapreneurial
behaviors. Tourism Management, 83, 104227.
Mingwei Liu, Pengcheng Zhang, Yanghao Zhu, and Yang Li . (2022). How and When Does
Visionary Leadership Promote Followers’ Taking Charge? The Roles of Inclusion of
Leader in Self and Future Orientation. Psychol Res Behav Manag. 2022; 15: 1917–1929.
Wenjing, C., Xueling, F & Qiqi, W. (2023). Linking visionary leadership to creativity at multiple levels: The role of goal-related processes. Journal of Business Research.167(2023):1-18.
Virpi, S.,Ritva, K. &Johan, D. M. (2023). Nursing Leaders as Visionaries and Enablers of Action. Seminars in Oncology Nursing.39(2023): 1-5.
Schiuma G., Schettini E., Santarsiero F., & Carlucci, D. (2021), The transformative leadership
compass: six competencies for digital transformation entrepreneurship. International
Journal of Entrepreneurial Behavior & Research. 28(5), 1273-1291.
Erhan, T., Uzunbacak, H. H., & Aydin, E. (2022). From conventional to digital leadership:
Exploring digitalization of leadership and innovative work behavior.
Management Research Review, 45(11), 1524–1543
Fernandes, C., Ferreira, J. J., Veiga, P. M., Kraus, S., & Dabi´c, M. (2022). Digital entrepreneurship platforms: Mapping the field and looking towards a holistic
approach. Technology in Society, 70(2022): 1-16
Antonopoulou, H., Halkiopoulos, C., Barlou, O., & Beligiannis, G. N. (2021).
Transformational leadership and digital skills in higher education institutes:
during the COVID-19 pandemic, Emerging science journal, 5(1), 1-15.
Burcu, E. K. (2023). Program development for leaders in the post-truth era: Arts-based creative leadership communication program. Evaluation and Program Planning.98(2023): 1-11.
Cheng, H. &Yi, G. J. (2022). When transparent leadership communication motivates employee advocacy: Testing the mediator roles of employee attributions in CEO activism. Public Relations Review. 48(2022): 1-11
EGAT Today. (2566). ทักษะการสื่อสารที่ผู้นำควรมี เพื่อการเดินหน้าองค์การในทิศทางเดียวกัน. สืบค้น
เมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก https://www.egat.co.th/egattoday/index.php?option=com_k2&view=item&id=1 4661:20211305-egatsp
Shohei, T. & Ryutaro, Y. (2022). The relationship between athlete leadership and communication:Analyzing social networks within Japanese sport teams. Asian Journal of Sport and Exercise Psychology. 2(2022): 151 – 155.
Rizvi, I. A., & Popli, S. (2021). Revisiting Leadership Communication: A Need for
Conversation. Global Business Review. Accessed 1 August 2023.
Retrieved from https://doi.org/10.1177/09721509211061979