สมรรถนะของนักบัญชียุคดิจิทัลและการบริหารจัดการองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของนักบัญชียุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย 2) ศึกษาการบริหารจัดการองค์กรของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย จำนวน 166 แห่ง สำนักงานบัญชีคุณภาพแห่งละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 128 คน ใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของนักบัญชียุคดิจิทัลชองนักบัญชีคุณภาพในประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านสมรรถนะของนักบัญชียุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ, รองลงมาความรู้ความสามารถวิชาชีพบัญชี, และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ด้านการบริหารจัดการของนักบัญชียุคดิจิทัลของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในในประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการจัดการองค์กรของนักบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ การประสานงาน, รองลงมาการจัดการองค์กร, และการควบคุม และด้านประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ความทันต่อเวลา, รองลงมาความถูกต้องด้านบัญชี, และความครบถ้วนและตรวจสอบได้ด้านบัญชี ภาพรวม ทั้งสามองค์ประกอบสำคัญ คือ สมรรถนะ, การบริหารจัดการ, และประสิทธิภาพ ล้วนมีบทบาทส่งเสริมให้นักบัญชีสามารถตอบสนองต่อความท้าทายในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กุลธิดา ธนสมบัติสิริ. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม
กมลภู สันทะจักร์. (2560). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กษมาพร ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กานดา แซ่หลิว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กิตติคุณ ลาภเบญจพร. (2559). ความสัมพันธ์ระหวางการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในสำนักงานบัญชีเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎรธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
กวินนาฏ นันทโกวัฒน์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทเทินบู ดีไซน์ จำกัด ตำบลหนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 123-133.
กฤช จรินโท และ ลัดดาวัลย์ ฤทธิ์สมบูรณ์. (2563). การบริหารจัดการองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการทำงานในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์: นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 1-15.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิติรัตน์ มีมาก, รติกร บุญสวาท และชุติมา ขลิบทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณและทักษะทางวิชาชีพกับประสิทธิภาพ การทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชี จังหวัดนครราชสีมา (การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. หน้า 653-664.
นภาลัย บุญคำเมือง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปุณยวีร์ ท่ากระเบา และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2560). อิทธิพลของความรู้ความสามารถทางการบัญชีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติของเสมียนการเงินในระดับมณฑลทหารบกสังกัดกองทัพภาคที่ 1 (ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ผกาวดี นิลสุวรรณ. (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ที่ส่งผลต่อคุณภาพของการ จัดทำงบการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. (งานวิจัยบัญชีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วันชัย ปานจันทร์. (2560). การพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (งานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรพงษ์ กสิกร. (2562) การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาบริษัทรับติดตั้งลิฟต์ เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
สุชาดา กีระนันท์. (ม.ป.ป.). “โลกธุรกิจในยุค 2000”. ใน เส้นทางใหม่สู่วิชาชีพบัญชีปี 2000. เล่ม 1 กรุงเทพฯ : สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.
อติกานต์ ประสมทรัพย์. (2563). ประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในมุมมองของพนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะกลุ่มงาน HR บนแนวคิด 70:20:10 Learning model. เดช อาร์ เซ็นเตอร์.
อุษคม เจียรจินดา. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 3(2), 59-70
อดุลย์ กองสำฤทธิ์. (2557). การบริหารการจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี.
อาลีฟ การี ฉันทิชา บัวศรี และ ประสิทธิ์ รุ่งเรือง. (2567). การควบคุมภายในที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานกลุ่มงานการเงินบัญชี และการตรวจสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา: ในทัศนของผู้อำนวยการกองคลัง. วารสารศิลปะการจัดการ, 8(2), 296-316
AICPA. (2021). The Future of Accounting: Embracing Digital Transformation. American Institute of CPAs.
Chong, L. (2020). Accounting in the Digital Age: The Role of Technology in Modern Accountancy Practices. Journal of Accounting Research, 35(4), 210-223.
Daniels, A. C., & Bailey, J. S. (2016). Performance management: Changing behavior that drives organizational effectiveness (5th ed.). Performance Management Publications.
Fayol, H. (1949). General and industrial management. Sir Isaac Pitman & Sons.
Graham, N., & Portny, S. E. (2010). Project management for dummies (UK ed.). Wiley.
Millet, J.D. (1954) Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. McGraw-Hill, New York.
Mistarihi, A. (2021) Strategic Leadership Competencies: Evidence from the State of Qatar. Journal of Human Resource and Sustainability Studies, 9, 57-81.
Nguyen, M. (2019). Digital Transformation in Accounting: Challenges and Opportunities for Firms in Southeast Asia. International Journal of Digital Accounting, 12(3), 155-170.
Raven, J., and Stephenson, J. (Eds.). (2001). Competence in the Learning Society. Peter Lang.
Schroeder, R., Clark, M., & Cathey, J. (2019). Accounting Information Systems: The Digital Age and Emerging Trends. Wiley.
Sutthirak, T. (2022). The Impact of Digitalization on Accounting Firms in Thailand. Journal of Thai Accounting and Finance, 27(1), 47-56.
Tirole, J. (2017). Economics for the Digital Age: How Digital Technology Transforms Business and Work. MIT Press.