ปัจจัยการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ของสำนักงานสรรพากร ภาค 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้านรายได้ภาษีที่สามารถจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ของสำนักงานสรรพากร ภาค 4, 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้านความถูกต้องครบถ้วน ของสำนักงานสรรพากร ภาค 4, 3) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีด้านการตรวจสอบและติดตาม ของสำนักงานสรรพากร ภาค 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษี จำนวน 1,586 คน การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เพื่อให้สอดคล้องตามจำนวนของสำนักงานสรรพากรภาค 4 ทั้ง 12 พื้นที่ และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 319 คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่มีความรู้และความเข้าใจในนโยบายการบริหารที่สูง ส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีรายได้ที่เพิ่มขึ้น การให้บริการและการสื่อสารที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้เสียภาษีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอย่างชัดเจน 2) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ช่วยเพิ่มความถูกต้องและความครบถ้วนของการจัดเก็บภาษีได้ดี เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และจรรยาบรรณสูงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างแม่นยำ 3) การตรวจสอบและติดตามที่มีประสิทธิภาพได้รับผลดีจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการสนับสนุนจากเทคโนโลยีที่ใช้ในสำนักงาน ทำให้การตรวจสอบและติดตามมีความคล่องตัวและแม่นยำมากขึ้น และ ผลการทดสอบสมมติฐานชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมมีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). สรรพากรชู 9 ระบบ Easy Tax ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน กระตุ้นการหมุนเวียนเศรษฐกิจ สร้างวิถีภาษีใหม่ ให้ยิ่งง่ายและเป็นธรรม. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/894925
ปาริฉัตร ภูต้องลม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองขาม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, 556-563.
ปิยะวดี จินดาโชติ, พิชัย พ้นภัย, พิชัย พ้นภัย, มาริษ คุณากร และ ภณ ศรีรัตนา. (2561). ประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนในเขตเทศบาลตำบลบางเลนอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 1(8), 1772-1779.
ประดินันท์ ประดับศิลป์ และลักษณา เกตุเตียน. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ทำบัญชี ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและ นำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
รัตนาภรณ์ โตพงษ์ และ ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. (2559). การนำนโยบายด้านการจัดเก็บภาษีและรายได้ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, 9(2), 2025-2041.
วารีพร อยู่เย็น. (2563). รูปแบบการพัฒนาจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 318-330.
วาสน์ ถาปินตา และ สุจินต์ สิมารักษ์. (2554). ความสูญเสียทางการเงินของการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(1), 32-39.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2556). ถอดรหัสการจัดเก็บภาษีอากรของท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้อยเพชร ลิสนิ & มนตรี ช่วยชู. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากร (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สิทธิกร ด่านพิไลพร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี ธุรกิจประกันวินาศภัยเขตภาคเหนือตอนบน (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โสวัตรี ณ ถลาง. (2562). จากชุมชนชานเมืองสู่ความเป็นเมืองทุนนิยม กรณีศึกษา พื้นที่นนทบุรี. วารสารมานุษยวิทยา, 2(2), 149-190.
อธิภัทร สินทรโก, อัตติยาพร ไชยฤทธิ์ และ นพพร ขุนค้า. (2563). ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขปัญหาประชากรแฝงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชพฤกษ์, 18(2), 119-127.
อุไรวรรณ ผันโพธิ์, สุวรรณา เตชะธีระปรีดา และ สวียา ปรารถนาดี ชาติวิวัฒนาการ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของนักตรวจสอบภาษีกรมสรรพากรเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 202-218.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ = Human resource management (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives: The Classification of Educational Goals: Handbook I Cognitive Domain. London: Longmans.
Cayne, B. S. (Ed.). (1992). The New Lexicon Webster's Dictionary of the English Language: Encyclopedia edition. Lexicon Publishing.
Friedrich, C.J. (1963). Man and His Government. New York: McGraw - Hill.
Good, C. V. (1973). The dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Kelly, R. (2012). Property tax collection and enforcement. In W. J. McCluskey, G. C. Cornia, & L. C. Walters (Eds.), Property tax: A comprehensive guide (141-171). John Wiley & Sons.
Knezevich, S. J. (1975). Administration of public education (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Mikhaleva, O. L., Terekhova, T. A., & Garipova, E. N. (2021). Tax Monitoring: Digitalization Of Tax Control. European Proceedings of Social and Behavioural Sciences.
Vota, L. (2022). Efficient monitoring of tax avoidance: a Costly State Verification model. SN Business & Economics, 2(12), 193.
Wilks, D. C., Cruz, J., & Sousa, P. (2019). Please give me an invoice: VAT evasion and the Portuguese tax lottery. International Journal of Sociology and Social Policy, 39(5/6), 412-426.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). Harper and Row, New York.