About the Journal

“วารสารทางวิชาการด้านความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือจากแวดวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ”

ชื่อวารสาร: วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ  Social Justice and Inequality Journal: sjij

เจ้าของ: สมาคมสังคมวิทยาสาธารณะ (ประเทศไทย)

กำหนดเผยแพร่: วารสารตีพิมพ์แบบออนไลน์ 2 ฉบับต่อปี (อย่างน้อยฉบับละ 3 บทความ)

 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน (ปิดรับสิ้นเดือนมีนาคม) 

ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม (ปิดรับสิ้นเดือนสิงหาคม)

วารสารรับตีพิมพ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

รูปแบบการเผยแพร่: วารสารออนไลน์ (e-journal) สองภาษา ไทย-อังกฤษ แบบ open access

ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์:  วารสารรับตีพิมพ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์


วัตถุประสงค์:
วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ผ่านกระบวนทัศน์ในการนิยามและการรับรู้ นโยบายและกระบวนการทางนโยบายเพื่อยกระดับความเป็นธรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลและปัจเจกบุคคลกับสังคมสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความเข้าใจต่ออำนาจในมิติอันหลากหลาย

ขอบเขตเนื้อหา:

เปิดรับบทความจากสำนักคิดทฤษฎีและระเบียบวิธีอันหลากหลาย สาขาทั้งสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์  ปรัชญา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาเชื่อมโยงและขยายพรมแดนความรู้ทางด้านความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำ ครอบคลุมเนื้อหาด้านสิทธิมนุษยชน การพัฒนามนุษย์และสังคม ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ ครอบครัว อาหาร ที่อยู่อาศัย การออกแบบและการจัดการเมือง ระบบขนส่ง การจัดการขยะ สุขภาพและความปลอดภัย  การศึกษา งานและการทำงาน รายได้ สวัสดิการ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและมลพิษ การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ การกีดกันทางสังคมและกลุ่มประชากรชายขอบ เพศวิถี ชาติพันธุ์ ความเป็นพลเมืองและการอพยพย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำระดับภูมิภาคและระดับโลก

ขอบเขตภาษา: ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

ขอบเขตการเปิดรับประเภทบทความ:
วารสารยินดีพิจารณารับ 1) บทความวิจัย 2) บทความวิชาการ 3) บทความปริทัศน์และบทปริทัศน์หนังสือ 

ระยะเวลาการพิจารณาบทความ: ประมาณ 3 เดือน

จริยธรรมในการตีพิมพ์: วารสารฯ รับพิจารณาบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น รวมทั้งบทความนั้นต้องไม่เป็นการคัดลอกหรือละเมิดลิขสิทธิ์ และมีคะแนนตรวจสอบความซ้ำของเนื้อหาด้วยโปรแกรม turn-it-in ไม่เกินร้อยละ 30 สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ต้องแสดงเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนด้วย


คำแนะนำสำหรับผู้เขียน:

กลุ่มเป้าหมายของวารสารประกอบด้วยนักวิชาการ กลุ่มนักปฏิบัติการทางสังคม และผู้ประกอบการทางนโยบาย ที่สนใจความรู้ข้ามศาสตร์และแสวงหาแนวร่วมในการขจัดความเหลื่อมล้ำไปสู่เป้าหมายความเป็นธรรมทางสังคม ทั้งจากนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องและได้มาตรฐานตามที่วารสารความเป็นธรรมทางสังคมและความเหลื่อมล้ำได้กำหนดไว้ โดยคำนึงบนฐานความแตกต่างหลากหลาย ไม่คำนึงถึงหน่วยงานต้นสังกัด พื้นฐานทางการศึกษา แหล่งถิ่นที่พำนัก หรือศาสนาของผู้เขียน

 

คำแนะนำสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ:
1. กองบรรณาธิการฯ ทำการตรวจสอบบทความเบื้องต้น (ทั้งในส่วนเนื้อหาและรูปแบบตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ) ร่วมกับการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ การประเมินบทความด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ (ตั้งแต่ เล่ม 1 พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป)

2. กองบรณาธิการฯ ทำการส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบ THAIJO ด้วยการประเมินบทความในรูปแบบ การประเมินที่ผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double-blind review)  ทั้งนี้ บทความจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ใน 3 ท่าน จึงถือได้ว่าบทความดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมิน หากผลการประเมินไม่เป็นเอกฉันท์บรรณาธิการมีสิทธิ์ตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย หรือแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่ม ทั้งนี้ การตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด 

3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความทำการส่งข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะเพื่อประเมินคุณภาพทางวิชาการ ลงในแบบฟอร์มข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ และส่งคืนกลับยังกองบรรณาธิการฯ

4. กองบรรณาธิการฯ ส่งข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินนบทความไปยังผู้เขียนบทความเพื่อปรับแก้ไข และผู้เขียนส่งต้นฉบับ (ฉบับแก้ไข) กลับมายังกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความ

การออกใบตอบรับการตีพิมพ์บทความ:
ทางกองบรรณาธิการฯ จะใบตอบรับการตีพิมพ์บทความให้ผู้เขียน ก็ต่อเมื่อบทความมีความสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว  

นโยบายการเข้าถึงบทความ (Open Access Policy):
วารสารใช้นโยบาย การเข้าถึงแบบเปิดกว้าง (Open Access) ในเนื้อหาบทความที่ถูกเผยแพร่ ตามหลักการ ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารมถือเป็นความเห็นของผู้เขียน วารสารยินดีรับบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ทั้งรูปแบบบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ รวมทั้งสรุปรายงานการวิจัยและรายงานการประชุมวิชาการ ตลอดจนข่าวสารการประชุมวิชาการ