Keeping cuisine at the forefront of the rural-urban dietary transition: Food culture among Cambodian factory workers

เก็บการทำครัวไว้ที่ด่านหน้าของการเปลี่ยนผ่านด้านโภชนาการที่รอยต่อของชนบทกับเมือง: วัฒนธรรมอาหารของแรงงานเขมรในโรงงาน

Authors

  • ซายรี่ เซ็ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฮาร์ท เอ็น ฟิวเออร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต

Keywords:

Khmer cuisine, Rural-urban dietary, Food culture, Cambodian, Factory workers, อาหารเขมร, อาหารชนบท-ในเมือง, วัฒนธรรมอาหาร, กัมพูชา, แรงงานในโรงงาน

Abstract

บทความนี้จัดทำขึ้นจากรายงานพหุภาคีจากภาครัฐ และองค์การนอกภาครัฐ ร่วมกับเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาระบบโภชนาการและการจัดหาอาหารที่มีอยู่ว่าสามารถมีบทบาทในการปรับปรุงสุขภาวะของคนทำงานได้อย่างไร การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายว่าเหตุใดมีข้อสรุปที่ขัดแย้งกันในเอกสารข้างต้น ซึ่งเกิดจากการศึกษาขอบเขตของข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมด้วยการประเมินโครงการด้วยวิธีการวิจัยเชิงเทคนิค งานชิ้นนี้ได้จัดทำจากการวิจัยพื้นฐานผ่านการศึกษาหลายรูปแบบเพื่อประเมินความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบฤติกรรมกับผลลัพธ์ของการบริโภคอาหาร ทั้งนี้ ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้วยการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วม ร่วมกับการบันทึกการบริโภคอาหารระยะยาวที่เน้นทักษะการทำอาหารและสภาพแวดล้อมด้านอาหารในชีวิตประจำวันของแรงงาน ระบบอาหารที่พัฒนาไปกับโรงงานที่มีความหนาแน่นในเขตเมืองของกรุงพนมเปญไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบในแง่ของสุขอนามัย แต่ระบบดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นตามความต้องการของแรงงานแบบมีส่วนร่วมมามากว่าสองทศวรรษ ในขณะที่การแทรกแซงภายนอก อาทิ โรงอาหาร แม้จะสามารถเพิ่มผลลัพธ์ทางโภชนาการได้บ้างแต่กลับปล้นชิงอิสรภาพของแรงงานในการจัดการอาหารและความชอบด้านอาหารของตนเอง การสนับสนุนให้มีโรงอาหารในโรงงานเกิดขึ้นภายใต้โลกทัศน์แบบปิตาธิปไตย ซึ่งปรากฏผ่านรัฐ ภาคประชาสังคม และผู้จัดการโรงงาน ซึ่งมองว่าแรงงานในโรงงานนั้นขาดตัวแทนในการนำทางท่ามกลางระบบอาหารที่ปั่นป่วน แม้ว่าจะดูย้อนแย้ง แต่ข้อมูลเชิงประจักษ์ยืนยันว่าแรงงานไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ด้านโภชนาการที่ดีที่สุดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่เปราะบาง ผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดจากการละเว้นละเลยเป็นเวลานานที่จะปรับปรุงระบบเดิมที่มีอยู่รวมทั้งขยับขยายขอบเขตและประสิทธิภาพเดิมในการเสริมพลังอำนาจให้กับแรงงาน อันนำไปสู่การที่แรงงานรู้สึกละอายใจต่อการรับประทานอาหารใกล้ประตูโรงงานหรือตลาดใกล้เคียง แทนที่จะได้รับโอกาสในการเสนอว่าระบบเหล่านี้ควรปรับปรุงอย่างไรเพื่อประโยชน์ของแรงงานเอง ซึ่งนำไปสู่การขาดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา เพื่อใช้แนะนำและประยุกต์กับภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า

References

ADB. (2014). Cambodia: Country poverty analysis. Manila: Asian Development Bank.

Angkor Research. (2016). Garment Workers’ Health and Nutrition Status, and Food Provision in Factories. Phnom Penh: ILO, better factories Cambodia, afd.

Ashish, B. (2017). Workplace health and the garment sector in Cambodia. Washington, D.C.: The Population Council.

BDLINK, & HRINC. (2012). Study on the preceptions of garment factory owners on nutrition and the feasibility for pursuing canteen services in the garment sector in Cambodia. Phnom Penh, Cambodia: Hagar Catering Facilities Management.

Becker, S. A. (2012, June 6). Third party canteens favoured by GMAC. Phnom Penh Post. Retrieved from http://www.phnompenhpost.com/business/third-party-canteens-favoured-gmac

CARE International. (2006). Cambodia: Women and Work in the Garment Industry (No. 40042). Phnom Penh, Cambodia: CARE, ILO, better factories Cambodia, UNIFEM, World Bank.

Feuer, H. N. (2015). Urban Brokers of Rural Cuisine: Assembling National Cuisine at Cambodian Soup-Pot Restaurants. ASEAS – Austrian Journal of South-East Asian Studies, 8(1), 45–66. https://doi.org/10.14764/10.ASEAS-2015.1-4

Heng, M., & Ashish, B. (2017a). Garment Sector Health Interventions in Cambodia. Washington, D.C.: The Population Council.

Heng, M., & Ashish, B. (2017b). Health needs, health seeking pathways, and drivers of health seeking behaviors of female garment factory workers in Cambodia: Findings from a Qualitative Study in Phnom Penh and Kandal Provinces. Washington, D.C.: The Population Council.

Makurat, J., Friedrich, H., Kuong, K., Wieringa, F., Chamnan, C., & Krawinkel, M. (2016). Nutritional and Micronutrient Status of Female Workers in a Garment Factory in Cambodia. Nutrients, 8(11), 694. https://doi.org/10.3390/nu8110694

Makurat, J., Pillai, A., Wieringa, F., Chamnan, C., & Krawinkel, M. (2017). Estimated Nutritive Value of Low-Price Model Lunch Sets Provided to Garment Workers in Cambodia. Nutrients, 9(7), 782. https://doi.org/10.3390/nu9070782

Vansintjan, A. (2017, February 20). Vietnam’s Low-tech Food System Takes Advantage of Decay. Retrieved September 19, 2017, from http://www.lowtechmagazine.com/2017/02/vietnams- low-tech-fermentation-food-system-takes-advantage-of-decay.html

Downloads

Published

31-12-2022