Deep Democracy

ประชาธิปไตยเชิงลึก

Authors

  • Chanchai Chaisukkosol
  • Atcharee Amphaikitpanich

Keywords:

Process Work Psychology, Group Process, Conflict Resolution, Conflict Transformation, Deep Facilitation

Abstract

งานเขียนชิ้นนี้ นำเสนอแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึก (deep democracy) ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากจิตวิทยางานกระบวนการ (process work psychology) ในสกุลสายจิตวิทยาเชิงลึกของคาร์ล ยุง (Carl Jung) เพื่อแนะนำอีกแนวทาง/วิธีการหนึ่งในการจัดกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง โดยเฉพาะความขัดแย้งที่แก้ไขได้ยาก ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับฐานคติเชิงลึก อารมณ์ความรู้สึกอันเข้มข้น รวมถึงบาดแผลทางใจ (trauma) ของแต่ละฝ่ายด้วย แนวคิดนี้เน้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถได้ยินและรับรู้เสียงที่แตกต่างหลากหลายของกันและกัน จนเกิดการเยียวยา คลี่คลาย และแปรเปลี่ยน (transform) ความขัดแย้งให้กลายเป็นพลังสร้างสรรค์ บำรุงหล่อเลี้ยงความเอื้ออาทรต่อกันและกันได้ แนวคิดประชาธิปไตยพื้นฐานวางอยู่บนทฤษฎีหลัก 2 ประการได้แก่ 1) ทฤษฎีสนามพลัง (field theory) ซึ่งมองการปฏิสัมพันธ์กันของมนุษย์ในฐานะที่มักมีคู่ขั้วตรงข้ามชุดต่าง ๆ มากมายเสมอ และดูเหมือนจะขัดแย้งกัน แต่อันที่จริงแล้ว เป็นการสร้างสมดุลให้กับระบบโดยรวมต่างหาก 2) ทฤษฎีความจริงสามระดับ ซึ่งเสนอว่าความจริง (reality) ไม่ได้มีหนึ่งเดียว แต่มี 3 ระดับซ้อนกันและเกิดขึ้นพร้อมกันอยู่เสมอ ได้แก่ ความจริงเห็นพ้อง (consensus reality) ความจริงเหมือนฝัน (dream-like reality) และความจริงแก่นแท้ (essence reality) ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์รับรู้ความจริงเพียงระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น แล้วไม่รับรู้หรือปฏิเสธประสบการณ์เกี่ยวกับความจริงระดับอื่นๆของคนอื่นว่ามีอยู่จริงหากเราสามารถตระหนักรู้และโอบรับความจริงทุกระดับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะความจริงแก่นแท้ได้ การคลี่คลายแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในเรื่องยากๆก็จะสามารถเป็นไปได้ บทความนี้นำเสนอตัวอย่างเกี่ยวกับการนำแนวคิดประชาธิปไตยเชิงลึกนี้ไปใช้ในกรณีความขัดแย้งการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยในช่วงปี 2014-2015 ซึ่งผู้เขียนทั้งสองได้เชิญแต่ละฝ่ายของความขัดแย้งทดลองเข้าสู่การจัดกระบวนการพูดคุยด้วยแนวคิดนี้ เพื่อดูความเป็นไปได้ในอนาคต ส่วนสุดท้าย ผู้เขียนสรุปข้อเสนอแนะและความเป็นไปได้ในการนำแนวทางนี้มาใช้กับสังคมไทย ว่ามีรูปแบบอย่างไรได้บ้าง ต้องปรับประยุกต์อะไรบ้าง ใช้เวลานานเท่าใด มีเงื่อนไขอะไรที่ต้องระมัดระวัง และมีใครควรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง

References

Pathomporn peace. (2557, กันยายน 15). “เถียงกันด้วย ‘อารมณ์’, ‘เหตุผล’ เดือดพล่าน [ไฟล์วีดีโอ]. Retrieved from https://youtu.be/HCXjnHFt0vw

Arye, L. & Audergon A. (2005). Transforming Conflict into Community: Post-war Reconciliation in Croatia. Psychotherapy and Politics International, 3(2). Chichester, UK: Wiley Publishers. doi: 10.1002/ppi.24

Audergon, A. (2005). The War Hotel : Psychological Dynamics in Violent Conflict. London and Philadelphia: Whurr Publishing;

Audergon, A. and Audergon, J. C. (2017). Contribution of worldwork methodology for violence prevention and community recovery after mass violence: An example from Rwanda. Psychotherapy and Politics International, 15(1). UK: John Wiley and Sons. doi: 10.1002/ppi.1405.

Campbell, J. (2008). The Hero with a Thousand Faces (The Collected Works of Joseph Campbell). Novato, CA: New World Library.

CFOR. (n.d.). Croatia and Balkans. Retrieved from http://www.cfor.info/croatia-and-balkans/

IAPOP. (2014). Worldwork 2014 Warsaw. Retrieved from

http://www.worldwork.org/worldwork2014warsaw/

IAPOP. (2015a). The Asian Process. [Video Clip] Retrieved from https://youtu.be/FKSvrTMmP6g

IAPOP. (2015b) The Balkans. [Video Clip] Retrieved from https://youtu.be/WT8D2hDzF_c

IAPOP. (2013) Sitting in the Fire [Video Clip] Retrieved from https://youtu.be/BmGEApyl-k0

Lasley, M., Kellogg V., Michaels R., and Brown, S. (2015). Coaching for Transformation: Pathways to Ignite Personal & Social Change. PA:Troy, DiscoverPress.

Lederach, J. P. (2010). The Moral Imagination: The Art and Soul of Building Peace. NY: Oxford University Press.

McVeigh, R. (1999). Structural Incentives for Conservative Mobilization: Power Devaluation and the Rise of the Ku Klux Klan, 1915–1925. Social Forces, 77(4). p. 1463.

Mindell, A.. (1995). Sitting in the Fire: Large Group Transformation Using Conflict and Diversity. OR: Lao Tse Press.

Mindell, A. (2002). The Deep Democracy of Open Forums: Practical Steps to Conflict Prevention and Resolution for the Family, Workplace, and World. VA: Hampton Roads Publishing.

Reiss, G. (2004). Beyond War And Peace in The Arab Israeli Conflict. OR: Changing Worlds Press.

Rosenberg, M. B. (2003). Nonviolent Communication: A Language of Life Paperback. Encinitas, CA: Puddledancer Press.

Satir, Virginia., Gomori, M., Gerber J., & Banmen, J. (2006). The Satir Model: Family Therapy and Beyond. Palo Alto, CA: Science & Behavior Books.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2550). ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง” ปัตตานีในรอบกึ่งศตวรรษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2558). ปาริชาติ สุวรรณบุปผา : กระบวนการด้านความขัดแย้งและสานเสวนา. วารสารสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 1 (1). นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2561ก). สุดยอดการคลี่คลายความขัดแย้ง: แต่ละฝ่ายคลี่คลายกันเองได้อย่างสันติ. สืบค้นจากhttps://chaisuk.wordpress.com/2018/07/06/highest-form-of-conflict-facilitation-thai/

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2561ข). Process Work & Racism in USA, Retrieved from https://chaisuk.wordpress.com/2018/07/13/process-work-racism-in-usa-1/.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2561ค). Process Work / Worldwork: Northern Ireland Conflict. Retrieved fromhttps://chaisuk.wordpress.com/2018/07/20/process-work-worldwork-northern-ireland-conflict/.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล. (2562). ให้พื้นที่กับ “อารมณ์ ความรู้สึก และเสียงที่แท้จริง” : ครั้งหนึ่ง ณ ชายแดนใต้. วารสารสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 5(2). นครปฐม: สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาญชัย ชัยสุขโกศล และปกรณ์ เลิศเสถียรชัย. (2558). การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: กรณีศึกษาระบบพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2548). สานเสวนาเป็นสันติวิธีได้หรือไม่. ในการประชุมวิชาการประจำปี “สันติวิธีในมุมมองของศาสนาโลก”. โดยหลักสูตรศาสนาเปรียบเทียบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2552ก). สานสวนา สานใจสู่ใจ. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2552ข). สืบเนื่องมาจากสานเสวนา. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2553). คู่มือการจัดกระบวนการสานเสวนา. นครปฐม : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาด สุวรรณบุบผา, มารค ตามไท และวินัย สะมะอุน. (2549). ศาสนเสวนา: แนวคิดและประสบการณ์การ สานเสวนาระหว่างศาสนา และการเมืองแนวลึกกับจริยธรรมของนักการเมืองจากมุมมองของศาสนิกชน. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะพงษ์ บุษบงก์ และพบสุข ช่ำชอง. (2563) การออกแบบนโยบายที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Policy Design) กรุงเทพฯ/เชียงใหม่: โครงการยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเป็นธรรม ระยะที่ 2 สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์. (2562). #กราบท่านสว่าง. Retrieved from

https://web.facebook.com/AnnaSubminority/posts/10157185047193729

จอห์น แบนเมน. (2557). The Satir Model: Family Therapy and Beyond [The Satir Model: Family Therapy and Beyond] (รัตนา สายพานิชย์, แปล). กรุงเทพฯ : สมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดแนวซาเทียร์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี พ.ศ. 2006)

สมสิทธิ์ อัสดรนิธี. (2556). การแสวงหาความรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา: ญาณวิทยาและวิธีวิทยาการวิจัย. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

Published

25-04-2023