Renewable energy development, social and environmental injustice: A case study of biomass power plant in the Middle Region of Thailand

การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน กับความไม่เป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย

Authors

  • Pornpod Sridan
  • Pichaya Surapolchai

Keywords:

Renewable Energy Development, Social and Environmental Injustice, Soft System Methodology (SSM), Critical Systems Heuristic (CSH), Biomass Power Generation

Abstract

ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นความท้าทายการพัฒนาด้านพลังงานที่สําคัญ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจ ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนทําการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สําคัญของประเทศ เพื่อควบคุมการปล่อยกาซเรือนกระจก รวมถึงการรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลบางแห่งในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาการต่อต้านจากสังคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่สําคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานชีวมวลในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เหมาะสม และนําไปสู่การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในอนาคต ในการวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ Soft Systems Methodology (SSM) และ Critical Systems Heuristic (CSH) ในขั้นตอนการศึกษา และการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม โดยกําหนดพื้นที่ในการศึกษาโรงไฟฟ้าชีวมวลในจังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี จํานวน 2 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสําคัญของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล คือการเกิดความไม่เป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ปัจจัยที่จะนําไปสู่ความสําเร็จในอนาคตในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนคือการได้รับการสนับสนุนจากประชาชน โดยประชาชนควรได้รับโอกาสในการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนานโยบายด้านพลังงาน นอกจากนี้ภาครัฐจะต้องทําความเข้าใจถึงพฤติกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในสังคม และความแตกต่างของวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อลดปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมผลการวิจัยครั้งนี้มีส่วนในการสนับสนุนทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ โดยในเชิงทฤษฎีจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Systemic Approach เป็นขั้นตอนในการศึกษาทําให้เข้าใจถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคที่สําคัญของการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล และนําไปสู่การนําเสนอกลยุทธ์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการพัฒนาพลังงานชีวมวลที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

References

Anderson, D. & Leach, M. (2004). Harvesting and redistributing renewable energy: on the role of gas and electricity grids to overcome intermittency through the generation and storage of hydrogen. Energy policy, 32(14), 1603-1614.

Berg, B.L. (2009). Qualitative Research Methods for the Social Sciences (7th Ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Checkland, P. (1981). Systems thinking, systems practice. Chichester, UK: John Wiley.

Checkland, P. and Mardle, S. J. (1989). SSM in action. Chichester, UK: John Wiley.

Herzog, A. V., Lipman, T E., Edwards, L. J. & Kammen, M. D. (2001). Renewable energy: a viable choice. Environment: Science and Policy for Sustainable Development, 43(10). 8-20.

Hotakainen, M. & Klimstra, J. (2011). Smart power generation (4th improved edn). Helsinki: Avain Publishers.

OECD, and World Bank. 2010. Analysis of the Scope of Energy Subsidies and Suggestions for the G-20 Initiative, 26-27.

IPCC. (2007). Climate Change 2007: Synthesis Report. Contribution of Working Groups I, II and III to the Fourth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change [Core Writing Team, Pachauri, R.K and Reisinger, A. (eds.)]. IPCC, Geneva, Switzerland, 104 pp.

Jackson, M. C. (2000). Systems Approaches to Management. Boston: Springer.

Jackson, M. C. (2001). Critical systems thinking and practice. European Journal of Operational Research. 128(2), 233-244.

Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.

Matson, R. & Carasso, M. (1999). Sustainability, energy technologies, and ethics. Renewable Energy, 16(1-4), 1200-1203.

Middleton, C. (2012). Trans-border Environmental Justice in Regional Energy Trade in Mainland south-East Asia. ASEAS-Austrian Journal of South-East Asian Studies, 5(2), 292-315.

Miller, D. (1979). Social Justice. Oxford: Clarendon Press.

Mingers, J. (1997b). Towards Critical Pluralism in: Mingers, J. and Gill, A., 1997, Multimethodology, The Theory and practice of Combining Management Science Methodologies. Chichester, UK: Wiley.

Mohanty, M. (2012). New renewable energy sources, green energy development and climate change: Implications to Pacific Island countries. Management of Environmental Quality: An International Journal, 23(3), 264-274.

Nuntavorakarn, S. & Sukkumnoed, D. (2008). Public Participation in Renewable Energy Development in Thailand: HIA Public Scoping and Public Review of the two controversial Biomass power plant projects. In The Asia and Pacific Regional Conference on Health Impact Assessment. Chiang Mai, Thailand: Healthy Public Policy Foundation.

Nolan, T. & Crowe, P (2010). Evaluating climate change discourse in New Zealand. Systemic Practice and Action Research, 23(5), 405-418.

Rawls, J. (1971). A theory of justice. Cambridge: The Belknap Press of Harvard University Press.

Sajjakulnukit, B., et al. (2002). Policy analysis to identify the barriers to the development of bioenergy in Thailand. Energy for Sustainable development, 6(3), 21-30.

Sanyavivat, S. (1998). Theories and Strategies of Social Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ulrich, W. (1983). Critical heuristics of social planning: A new approach to practical philosophy. Chichester, UK: J. Wiley & Sons.

Ulrich, W. (1987). Critical heuristics of social systems design. European Journal of Operational Research, 31(3), 276-283.

Ulrich, W. (1988). Systems thinking, systems practice, and practical philosophy: A program Of research. Systemic Practice and Action Research, 1(2), 137-163.

Ulrich, W. (1996). A primer to critical systems heuristics for action researchers, Hull: Centre for Systems Studies.

Walker, G. (2012). Environmental Justice: Concepts, Evidence and Politics. London and New York: Routledge.

Yeji, Y. (2013). Renewable Energy Development and Environmental Justice in Thailand: Case Studies of Biomass Energy Projects in Roi-et and Suphanburi Provinces. (Master of Arts in International Development Studies). Bangkok: Chulalongkorn University.

Yin, R. K. (2009). Case study research: Design and methods (4th Ed.). CA: Thousand Oaks.

กระทรวงพลังงาน. (2558). Thailand Power Development Plan 2015-2036 (PDP2015). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

กระทรวงพลังงาน. (2561). แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP2018). กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน. (2558). วาระปฏิรูปที่ 10: ระบบพลังงาน. สืบค้น 26 ตุลาคม 2558 จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrc2557/d051158-01.pdf

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2559). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธีรยุทธ บุญมี. (2536). คำถามถึงอนาคตของระบบอุปถัมภ์ไทย. 18-19 สองหน้าสังคมไทย. กรุงเทพฯ: นํา อักษรการพิมพ์.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2559). สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ศักดิ์ณรงค์ มงคล. (2558). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม. วารสารพัฒนาสังคม. 17(2), 88-109.

ศุทธินี ใจคำ. (2561). พหุลักษณ์ของความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม: ภาพสะท้อนจากคดีสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับคนชายขอบ. ในการประชุมวิชาการสาขานิติศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 1 (น. 97-117). เชียงใหม่: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อติวิชญ์ แสงสุวรรณ. (2559). การปฏิรูปพลังงาน. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร.

Downloads

Published

25-04-2023