Laboring class and inequality in Thai society: An anthropological perspective and study of injustice in Burmese laborers of Mae Sod district and Bangkok

มนุษย์แรงงานกับความความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มุมมองทางมานุษยวิทยากับการศึกษาความไม่เป็นธรรม กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ในอำเภอแม่สอด และกรุงเทพมหานคร

Authors

  • Sasithon Sinvuttaya

Keywords:

Laboring Class, Inequality, Migrants Workers, Rights

Abstract

มนุษย์แรงงานกับความความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มุมมองทางมานุษยวิทยากับการศึกษาความไม่เป็นธรรม เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ย้ายถิ่นฐานของมนุษย์แรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และกรุงเทพมหานคร โดยการเข้ามาใช้แรงงานดังกล่าวก่อให้เกิดกระบวนการผลิตซ้ำความไม่เป็นธรรมของผู้คน โดยแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานถูกทำให้เป็นมาตรฐานคนละชุดกับพลเรือนในประเทศ ทั้งเรื่องรูปแบบของอาชีพที่เข้ามาเป็นแรงงานระดับล่าง และเรื่องของสิทธิความเป็นอยู่ สิทธิที่อยู่อาศัย และสิทธิการรักษาพยาบาล เช่น ในกรณีการเข้าถึงประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่ไม่เป็นธรรมกับแรงงานเอง การได้รับสถานะการเป็นพลเมือง การได้รับค่าจ้างอย่างถูกต้องและยุติธรรม ฯลฯ สถานะทางสิทธิมนุษยชนในเรื่องพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทั้งในเรื่องของสิทธิในการรักษาพยาบาล การบริการ สิทธิในการทำงาน และได้รับการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย สิทธิการศึกษา และสิทธิในการครอบครองที่อยู่อาศัยจึงนับเป็นภาวการณ์ที่คุกคามความมั่นคงชีวิตของแรงงานข้ามชาติในระดับปัจเจกบุคคลเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่พบเห็นได้จากหลากหลายประเทศทั่วโลก เช่น บทเรียนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชนพื้นเมืองในรัฐควิเบก หรือกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศพม่าที่มีการพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่หลากหลาย ผู้เขียนจึงมุ่งหวังว่าบทเรียนที่ได้ทบทวนในงานเขียนครั้งนี้จะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับกรอบคิดหรือมโนทัศน์ของสังคมที่จะนำมาสู่การได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ หรือแม้แต่แรงงานข้ามชาติที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยนั่นเอง

 

References

UN Population Division. (2002). International migration report 2002. United Nations Publications.

International Migration and Development. (2006). UN statistics show migration as a dynamic force in

global development. Retrieved from UN News website: https://news.un.org/en/story/2006/09/191882-un-statistics-show-migration-dynamic-forceglobal-development Kymlicka, W. (1995). Multicultural citizenship: A liberal theory of minority rights. Clarendon Press.

Winichakul, T. (1994). Siam mapped: A history of the geo-body of a nation. Honolulu: University of Hawaii Press.

Winichakul, T. (2000a). Civility and Savagery: Social Identity in Tai States (Andrew Turton). London: Curzon Press.

Winichakul, T. (2000b). The Others Within: Travel and Ethno-Spatial Diffferentiation of Siamese Subjects 1885-1910. 38–62.

กฤตยา อาชวนิจกุล, พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2548). คาถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐไทยในการจัดการปัญหามิติสุขภาวะและสิทธิของแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2552). สุขภาพของแรงงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 20(1), 145–172.

ชยชาติ ชูพันธ์. (2551). แนวทางการพัฒนาการดาเนินงานจัดระบบแรงงานต่างด้าวภาคอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. Retrieved from https://arit.kpru.ac.th/ap/e-dcms/?nu=info&id=521

ทัศนัย ขันตยาภรณ์, นัฐวุฒิ สิงห์กุล, นงลักษณ์ ดิษฐวงษ์, พสุภา ชินวรโสภาค, ศศิธร ศิลป์ วุฒยา, & กฤติกา พนาธนสาร. (2556). การคาดประมาณประชากรข้ามชาติเพื่อพัฒนาบริการอนามัยแม่และเด็กในกทม. องค์การแพธ (PATH): สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. Retrieved from https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3932

นุศรา มีเสน. (2541). แรงงานบังคับ กับการยึดหนังสือเดินทางแรงงานข้ามชาติ. มติชนรายวัน.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2551). คนต่างด้าวสําหรับประเทศไทย: คือใครบ้าง? รัฐไทยต้องคุ้มครองไหม? อย่างไรกัน? วารสารผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา., 1(1).

ฟูกุดะ-พาร์, ซากิโกะ. (2547). รายงานการพัฒนาคน 2547: เสรีภาพทางวัฒนธรรมในโลกที่หลากหลายวันนี้. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2554). ปรับโครงสร้างชนบทไทยกับปัญหาที่มองไม่เห็น ใน ปกป้อง จันวิทย์(บ.ก.), ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์--ปาฐกถา: กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

Downloads

Published

25-04-2023