Urak Lawoi at Lanta Island: Ethnic group and politics of space at Andaman coastal

อุรักลาโวยจเกาะลันตา: กลุ่มชาติพันธุ์และการเมืองเรื่องพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

Authors

  • Chainarong Sretthachau

Keywords:

Urak Lawoi, Ethnic Group, Politics of Space

Abstract

บทความนี้ต้องการอธิบายความหมายพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยจและการเมืองเรื่องพื้นที่ที่กระทบต่อสิทธิและวิถีชีวิตของพวกเขา โดยศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยจบริเวณเกาะลันตาบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดกระบี่ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม กันอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ระหว่างเดือนเมษายน 2557 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2559 ผลการศึกษาพบประเด็นสำคัญ
ดังนี้ ประการแรก กลุ่มชาติพันธุ์มีความรู้ทางกายภาพเกี่ยวกับพื้นที่ทั้งที่ดินและทะเลเป็นอย่างดี ในทางพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่ทั้งสองประเภทมีความอุดมสมบูรณ์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยจ ขณะที่พื้นที่ทางความคิดหรือพื้นที่ในจินตนาการ กลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยจถือว่าธรรมชาติทุกประเภทรวมถึงตัวมนุษย์มีสิ่งศักดิ์เป็นเจ้าของ พวกเขาจึงไม่มีแนวคิดกรรมสิทธิ์ปัจเจกเหนือพื้นที่และทรัพยากร แต่พื้นที่และทรัพยากรในพื้นที่เป็นกรรมสิทธิ์ของส่วนรวม ประการที่สอง ในบริบทของการพัฒนาได้เกิดพื้นที่ทางสังคมหรือ “การเมืองเรื่องพื้นที่” โดยมีการให้นิยามความหมายพื้นที่ซ้อนทับลงไปบนพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยทั้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนและเพื่อการอนุรักษ์ของรัฐ แต่การอนุรักษ์ของรัฐในระดับปฏิบัติการก็เอื้อให้กับทุน ทำให้เกิดการเมืองเรื่องพื้นที่ ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์อุรักลาโวยจถูกเบียดขับออกไปจากการเข้าถึงทรัพยากร ซึ่งเป็นการละเมิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมืองโดยเฉพาะสิทธิตามประเพณีเหนือดินแดนและเขตแดนที่มีมาแต่บรรพชน บทความนี้ที่ใช้แนวคิดพื้นที่ (space) ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองเรื่องพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน และเห็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power relation) ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐและทุน และมีข้อเสนอให้ทุนทำธุรกิจโดยยึดหลักธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขณะที่รัฐต้องปฏิบัติตามปฏิญญานานาชาติว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมือง

References

Kahn, M. (2000). Tahiti Intertwined: Ancestral Land, Tourist Postcard, and Nuclear Test Site. American Anthropologist, 102(1), 7–26. https://doi.org/10.1525/aa.2000.102.1.7

Soja, E. W. (1996). Thirdspace: Journeys to Los Angeles and Other Real-and-Imagined Places. Wiley-Blackwell. Retrieved from https://www.wiley.com/en-ar/Thirdspace%3A+Journeys

+to+Los+Angeles+and+Other+Real+and+Imagined+Places-p-9781557866745

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (n.d.). โครงการจัดการฐานข้อมูลในเขตอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา. Retrieved from https://www.dnp.go.th/nprd/project/Lanta.php

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2549). อยู่ชายขอบ มองลอดความรู้: รวมบทความเนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี ฉลาดชาย รมิตานนท์ / อานันท์ กาญจนพันธุ์, บก. กรุงเทพฯ: มติชน.

ฐาปนี เสาวภางค์วรกุล. (2552). เสียงเพรียกจากปัตตานี :การสร้างพื้นที่ทางสังคมและการต่อรองตัวตนคนมลายูภายใต้พหุวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนามนุษย์และสังคม)), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Retrieved from http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7127

นฤมล อรุโณทัย, พลาเดช ณ ป้อมเพชร, อุษา โคตรศรีเพชร, กิ่งแก้ว บัวเพชร, & จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์. (2557). ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน / นฤมล อรุโณทัย (บก.). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

ยศ สันตสมบัติ. (2547). นิเวศวิทยาชาติพันธุ์ ทรัพยากรชีวภาพ และสิทธิชุมชน (pp. v, 387 หน้า). เชียงใหม่ : วิทอินดีไซน์.

อาภรณ์ อุกฤษณ์. (2554). พลวัตการปฏิสัมพันธ์และชาติพันธุ์ธำรงของชาวเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา). มหาวิทยาลัยทักษิณ. Retrieved from http://hdl.handle.net/123456789/2439

สัมภาษณ์

จ๊ะเอียด, สัมภาษณ์, 9 เมษายน 2557.

บังตุ๊, สัมภาษณ์, 11 เมษายน 2557.

Downloads

Published

25-04-2023