The objectivity of Judicial Decision Making

ความเป็นภววิสัยในการตัดสินคดี

Authors

  • Padtheera Narkurairattana Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University

Keywords:

The objectivity, Judicial Decision Making

Abstract

ในรอบหลายปีที่ผ่านมา อารมณ์ความรู้สึกของสังคมไทยต่อความเชื่อมั่นในระบบความยุติธรรมกลายเป็นกระแสซุบซิบนินทาในที่สาธารณะมากขึ้น โดยเฉพาะในการตัดสินคดีความ การพิพากษา และคำสั่งต่าง ๆ ของศาลยุติธรรมบางคดีความที่นำไปสู่การตั้งคำถามถึงความเที่ยงตรงในการตัดสิน ความรอบคอบและการตรวจสอบพยานหลักฐานและวัตถุพยานแวดล้อมอย่างครบถ้วนรอบด้านและเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้อย่างตรงไปตรงมา กล่าวเป็นภาษาของสังคมทั่วไป คือ ค้านอารมณ์ความรู้สึก หรือ ค้างคาใจในคำพิพากษาตัดสิน หรือไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาล เป็นต้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากศาลมักกล่าวอ้างถึง  “ละเมิดอำนาจศาล” หรือ “ดูหมิ่นศาล” ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาจึงมักปรากฏอยู่ในแวดวงของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายไม่กี่คนซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้มีแต่ทำให้ความเชื่อมั่นต่อระบบความยุติธรรมของศาลไทยอยู่ในภาวะอึมครึม ยิ่งกว่านั้นสำหรับสังคมไทย การซุบซิบนินทาและการวิพากษ์วิจารณ์ในที่สาธารณะทั่วไปเป็นอีกวัฒนธรรมในชีวิตประจำวันที่พบได้ทั่วไปและมีแนวโน้มว่าประชาชนจะไม่เชื่อมั่นมากขึ้นในกระบวนการความยุติธรรมในการพิจารณาตัดสินคดีด้วยความเที่ยงธรรม  ปานเทพ สุ่มมาตย์และคณะ (2566: 2) ยกตัวอย่างคำสั่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน เช่น เรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวบุคคลในคดีอาญาที่มีข้อโต้เถียง และการวิพากษ์วิจารณ์มากจากสังคม โดยเฉพาะคำสั่งในคดีการเมืองที่มีประเด็นว่า มาตรการควบคุมระหว่างการดำเนินคดีหรือระหว่างการพิจารณาเกินสัดส่วนหรือไม่ ซึ่งสังคมเรียกร้องให้ศาลมีคำสั่งที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกันการจัดทำคำพิพากษาด้วย

References

ปานทอง สุ่มมาตย์และคณะ. (2566). ความเป็นภววิสัยในการตัดสินคดี The Objectivity of Judicial Decision Making. กรุงเทพฯ:ธนุชพริ้นติ้ง.

Downloads

Published

31-12-2024