การพัฒนาความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โดยใช้บัตรคำ
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จำนวน 39 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บัตรคำ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเรื่อง Present Simple Tense หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนใช้บัตรคำสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บัตรคำที่ใช้ประกอบการสอนอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.60)
References
ดัชนีความสามารถทางภาษาอังกฤษ. (2558). การสำรวจความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้ใหญ่ในประเทศซึ่งไม่ใช่เจ้าของภาษา. จาก http://www.ef.co.th/eoi/regions/asia/thailand/.
นิติกานต์ ศรีโมรา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตรคำศัพท์. กรุงเทพฯ: วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย กรุงเทพธนบุรี, 7(2), 102-109.
พัตรสุดา ขาวผ่อง. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยการเรียนรู้แบบกำกับตนเองของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ:
มหาลัยธุรกิจบัณฑิต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. (2557). รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพผู้เรียนในมิติ O-NET ปีการศึกษา 2557. ม.ป.ท.
อภัสรา สัตถา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar in Context กับวิธีสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน เทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี. ปทุมธานี: โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม
Dolch. (2001). Dolch Word. สืบค้นจาก Dolchword: http://www.dolchword.net.
Jonathan Serfaty. (2018). Digital Flashcards for English Grammar: A Pilot Study in Rural Cambodia. Department of English Studies and Modern Languages and Literatures Universitat de Barcelona. สืบค้นจาก http://diposit.ub.edu/dspace/bitstream/2445/172215/2/Jonathan_Serfaty_TFM.pdf
Krashen, Stephen D. (1987). Priciples and Practice in Second Language Acqusition. New Jersey: Prentice- Hall International.
Musigrungsi, S. (2002). An Investigation of English Grammar Teaching in Government Secondary Schools in Educational Region II. (Master’s thesis). Songkhla: Prince of Songkhla University, Hat Yai Campus.
Rajkhowa, B., & Das, S. (2015). Competency of teaching English in Indian context: A situational analysis. United Kingdom: academypublication.
Thornburry, S. (2003). วิธีการสอนคำศัพท์. England: Harlow Longman.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.