การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
คำสำคัญ:
กรณีศึกษาเป็นฐาน, การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน, การสร้างสรรค์นวัตกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/13 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จำนวน 21 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นจุดประกายความสนใจ ขั้นลงมือปฏิบัติ และขั้นนำเสนอผลงาน และ 2) ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมายหลังเรียนอยู่ในระดับมาก ( = 4.45 S.D.=0.84)
References
Easton, G. (1902). Learning from Case Studies. 2nd Edition. England: Prentice- Hall International (UK) Ltd.
Isara Senat Na Ayudhya, P. (2005). Quality of Life in Knowledge-based Society Through the Theory of Creative Intelligence. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.
Khaemmani, T. (2019). Science of Teaching: Knowledge for Effective Learning Process. 21st Edition. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.
Ministry of Education. (2010). Basic Education Core Curriculum 2008 B.E. 3rd Edition. Bangkok: Rally printing house, Agricultural Cooperatives of Thailand, Ltd.
Papert, S. and Harel, I. (1991). Constructionism. Ablex Publishing Corporation. Retrieved January 20, 2020 from: http://www.papert.org/articles/SituatingConstructionism.html
Phetcharak, S. (2001). Organizing Learning Process for Creativity in Thailand. Bangkok: National Institute of Technology for Education.
Silverman, R., Welty, W. M., and Lyon, S. (1992). Case Studies for Teacher Problem Solving. New York: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.