การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ รายวิชางานเครื่องยนต์ดีเซลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย หงษ์อ่อนสา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โมเดล, เครื่องยนต์ดีเชล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ในรายวิชางานเครื่องยนต์ดีเซล 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานยานยนต์ ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดโมเดลผ่าเครื่องยนต์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน รายวิชาเครื่องยนต์ดีเชล วิเคราะห์ความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ (ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.8 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง +0.2 ถึง +0.4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการทดสอบค่า t-test ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ที่เรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ มีค่าสูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบใช้สื่อปกติ และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโมเดลผ่าเครื่องยนต์ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนก สารสิทธิธรรม. 2558. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพแบบบูรณาการของหลักสูตร วิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจอมเกล้าพระนครเหนือ

กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. แนวทางการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานปลัดกระทรวง. พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2551 กระทรวงศึกษาธิการ.

นภัทร เพ็ชรศรีกุล และคณะ. 2557. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะด้านฐานสมรรถนะ วิชาชีพ เรื่องงานเครื่องยนต์ดีเซล ของนักเรียนสาขาวิชาช่างยนต์ ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนสําเร็จรูปร่วมกับบทเรียนสําเร็จรูปของบริษัทตรีเพชรกับการเรียนแบบปกติ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 67-75.

รัฐกรณ์ คิดการ. (2550). เทคโนโลยีการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เอกราช ไชยเพีย และคณะ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยบทเรียนบนเว็บ เรื่อง ปฏิบัติงานรถจักรยานยนต์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 60-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30