การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำโดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัว

ผู้แต่ง

  • พิมพ์รัชนา โนนหิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • วิชยา กลั่นหุ่น โรงเรียนหนองบัว
  • ศิวดล วราเอกศิริ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การอ่านออกเสียง, คำควบกล้ำ, แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ร ล ว ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองบัว จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ร ล ว แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนที่เป็นแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง จำนวน 30 ข้อ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 – วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 วันละ 1 ชั่วโมง รวม 15 ชั่วโมง วิเคราะห์คะแนนด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ร ล ว โดยมีคะแนนก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 50.3 และมีคะแนนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.3 จะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน เรื่อง ทักษะการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.

ดาวเรือง เมืองพิล. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ. อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.

นวพรรณ พันธุรัตน์. (2556). คำควบกล้ำ. ครุศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2557). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ. ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29