การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา, การสอนคณิตศาสตร์, การสอนพหุนามดีกรีสองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง 4) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองเมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ อำเภอ สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ (P) 0.22 – 0.84 มีค่าอำนาจจำแนก(r) ตั้งแต่ 0.24 - 0.84 2) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และสถิติทดสอบ (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ ซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาที่ใช้พื้นที่อธิบายการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มเมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์
References
กัลยา พันปี. (2551). ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์และทักษะการเชื่อมโยงทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) และ รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MET). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ชลทิชา ต่อจรัส. (2557). ได้วิจัยผลการใช้สื่อประสมประกอบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : กลุ่ม สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2) (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด
สิทธิกร สุมาลี. (2558). ศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี การสร้างองค์ความรู้ในรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 4(1), 51-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.