การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองโดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • เนตรปรียา ประเสริฐแท่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • นงนุช บุรุษพัฒน์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
  • วรางคณา ก้อมน้อย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง, แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย(จิรประวัติ)นครสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการใช้แบบฝึกทักษะ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

References

นิตยา บุญสุข. (2541). แบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2540). การพัฒนาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2548). การประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราฃ 2544. กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อาวุธ ปะเมโท. (2540). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการคิดคํานวณ เรื่องการบวกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด นครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29