การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส (Minicourse) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนบางกะปิ

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร อาจศึก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริอร จุลทรัพย์ แก้วมรกฎ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิภาวรรณ เอกวรรณัง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, หลักภาษาไทย, ชุดการสอนมินิคอร์ส

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการเรียนหลักภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 2) เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนหลักภาษาไทย 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในชั้นเรียน 4) เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมที่นำไปใช้แก้ปัญหาในชั้นเรียน 5) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทยของนักเรียน ให้ผ่านเกณฑ์การประเมิน 6) เพื่อศึกษาข้อดี และข้อจำกัด ของชุดการสอนมินิคอร์สที่นำไปแก้ปัญหาในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการแก้ปัญหาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนบางกะปิ จำนวน 3 คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาในชั้นเรียน ปัญหาที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 คือ ปัญหาการเรียนหลักภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 3 คน จากจำนวนนักเรียน 46 คน สาเหตที่ผลกระทบต่อการเรียนหลักภาษาไทย ได้แก่ นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาเรื่องชนิดของคำ ระยะที่ 2 ผลการพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย คือ ชุดการสอนมินิคอร์ส (Minicourse) โดยผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 0.89 ค่าความสอดคล้องของชุดการสอนมินิคอร์สที่ 0.94 และค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทยที่ 0.92 ระยะที่ 3 ผลการนำนวัตกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย พบว่า นักเรียน 3 คนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 นักเรียนคนที่ 1 ได้ร้อยละ 77.1 นักเรียนคนที่ 2 ได้ร้อยละ 82.9 ได้ร้อยละ 85.7 ข้อดีของนวัตกรรม คือ เน้นการฝึกทักษะอย่างมีระบบ ทำให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถของตน ข้อจำกัด คือ ต้องใช้สื่อที่สะดวกต่อผู้สอน

References

กระทรวงการศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551). ตัวชี้วัดและหลักสูตรการเรียนรู้ แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.5 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์ อจท.

รัตนาวลี คำชมภู. (2549). การพัฒนาชุดการเรียนด้วยตนเอง วิชาภาษาไทย เรื่องชนิดของคำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอน...เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29