การพัฒนารูปแบบการสอนไวยากรณ์โดยใช้ระบบ Google Classroom ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ ปราโมทกุล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • วัชรา หมัดป้องตัว มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการสอนไวยากรณ์, Google Classroom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้บทเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ Google Classroom ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การใช้ will / be going to 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการใช้แบบเรียนออนไลน์ Google Classroom ในรายวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 48 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษเรื่อง will / be going to ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน ระบบ Google Classroom 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง will / be going to แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 4 ตัวเลือก 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ Google Classroom ในการเรียนเรื่อง will / be going to 4) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง will be going to สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถภาษาอังกฤษโดยใช้แบบเรียนออนไลน์ Google Classroom หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

ชาติชาย กู้กิตติไมตรี. (2533). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบทดสอบแบบเลือกตอบที่มีจำนวน (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทิศนา แขมมณี. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำบุศร์ อักษรนิรันดร์. (2553). ผลการเรียนภาษาอังกฤษเรื่อง กาล โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีต่อความสามารถในการใช้กาลภาษาอังกฤษของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. อัครเดช เกตฉ่ำ และคณะ. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อัญชลี อติแพทย์. (2553). การวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ตำบลอัมพวา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันวิจัยและพัฒนา.

Swatevacharkul,R. (2008). An investigation on readiness for learner autonomy, approaches to learning of tertiary students and the roles of English language teachers in enhancing learner autonomy in higher education. จาก ชื่อเว็บไซต์: http://libdoc.dpu.ac.th/research/134463.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30