การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนวัดอมรินทราราม โดยใช้กิจกรรมตารางพาเพลิน

ผู้แต่ง

  • แก้วตา แซ่ล่าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุพันธ์วดี ไวยรูป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อมัดใหญ่, กิจกรรมตารางพาเพลิน, ชั้นอนุบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนวัดอมรินทราราม โดยใช้กิจกรรมตารางพาเพลิน และเพื่อเปรียบเทียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนวัดอมรินทรารามก่อนและหลังการใช้กิจกรรมตารางพาเพลิน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3/4 โรงเรียนวัดอมรินทราราม ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยได้แก่ กิจกรรมตารางพาเพลิน แผนการจัดกิจกรรมตารางพาเพลิน และแบบสังเกตความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มก่อนสอบ - หลังสอบ การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมตารางพาเพลินสามารถพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ให้อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 โรงเรียนวัดอมรินทราราม หลังการใช้กิจกรรมตารางพาเพลินมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกคน

References

กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊คส์.

ขนิษฐา อุทัยจอม. (2559). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สื่อสารสงเคราะห์ โดยใช้กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง. วิจัยในชั้นเรียน. ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปรมพร ดอนไพรธรรม. (2550). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์โดยใช้กิจกรรมโยคะ. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรายแก้ว ลาภผลทวี. (2559). การพัฒนาความสามารถกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยใช้เกมเบ็ดเตล็ดของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ขวบ โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ. วิจัยในชั้นเรียน. ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ภัทรพนธ์ เหมหงษ์. (2554). ผลการฝึกตารางเก้าช่องและความอ่อนตัวที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไว. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 4(1), 131 – 141.

มยุรี เผื่อนงูเหลือมและคณะ. (2557). ผลของการใช้กิจกรรมตารางเก้าช่องที่มีต่อพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของ เด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ฤกษ์ สุวรรณฉาย. (2552). คู่มือตาราง 9 ช่อง พัฒนากาย พัฒนาสมอง. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษ แบบเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแกนคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลยขอนแก่น.

ละไม สีหาอาจ. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ.

วรรณวิภา เที่ยงธรรม, และอัญมณี บุญซื่อ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ของเล่นพื้นบ้านตามแนวคิดการประมวลข้อมูลการรับความรู้สึกเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คิรินทร กาญจันดา. (2553). การศึกษาความสามารถใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับ รุนแรงจากการใช้โปรแกรมกิจกรรมการฝึกทักษะกลไกของสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยร่วมกับ กิจกรรมฝึกสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness). (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28