การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง)

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา ศานติประพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พัชรินทร์ สุริยวงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แบบฝึกทักษะ, การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง) ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงควบกล้ำ จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำ จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (dependent sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.89/85.44 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านซ่อง (ประชากรบำรุง) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สูงกว่าก่อนการใช้ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสะระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). การเรียนการสอนภาษาไทย ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : สถาบัน ภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

เปลื้อง ณ นคร. (2521). ชุมนุมทางภาษาไทยปีที่แล้วมา. วิทยาสาร, 9(1), 29.

พีระยศ บุญเพ็ง. (2556). บัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2522). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

อัจฉราวรรณ ศิริรัตน์. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนวย อุ่นคำเมือง. (2526). ปัญหาการสอนภาษาไทยระดับมัธยม. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28