การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะ การคิดสร้างสรรค์และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ฑิตฐิตา รัตนะวรรณ์ โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สะเต็มศึกษา, กระบวนการคิดสร้างสรรค์, ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ "สะเต็มศึกษา สร้างนักคิด ผลิตนวัตกรรม" ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ จำนวน 40 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ทีแบบไม่อิสระ  ผลการวิจัยพบว่า  1) ประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 82.35/84.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80  2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนทักษะการคิดสร้างสรรค์ เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65

 

คำสำคัญ: สะเต็มศึกษา, ทักษะการคิดสร้างสรรค์, ปัญหาเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

References

ฉัตรชัย เครืออินทร. (2557). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรูวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุและสมบัติของวัสดุ แบบสะเต็มศึกษา (STEM education) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. รายงานผลการประชุมวิชาการระดับชาติ “ศึกษาศาสตรวิจัย” ครั้งที่ 1 คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทรวิทยาเขต ปัตตานี วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2557. โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา.

ธีระชัย เอี่ยมผ่อง (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง การประยุกต์การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สาขาวิชา : คณิตศาสตร์ศึกษา. วท.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา)

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์. (2561). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. บุรีรัมย์ : โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วงค์ณภา แก้วไกรษรและนันทรัตน์ แก้วไกรษร. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชุมนุมหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) ภายใต้หัวข้อ หุ่นยนต์ทางเลือกแห่งอนาคต. โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

อุไร ดอกคำ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่องดินในท้องถิ่นของเรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014). Basic knowledge stem. Bangkok: Institute for Promotion of Teaching Science and Technology, Ministry of Education. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-21