ผลการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
เกมการศึกษา, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนจำนวน 36 คน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก จำนวน 30 แผน 2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก หลังได้รับการจัดประสบการณ์มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี จำนวน 36 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา โดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตคิดสนุก เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์
คำสำคัญ: เกมการศึกษา, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เด็กปฐมวัย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรสโปรดักส์.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
เยาวรัตน์ ทัศเกตุ. (2541). สีสีนและความงามในเลขคณิต. กรุงเทพฯ: กองทุนสงเครสะห์การศึกษาเอกชน.
วริษกร ไชยรัตน์. (2551). การเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการแบบการณมนสิการและการจัดการเรียนรู้แบบทปกติ (วิยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิราณี จันทร์บุตร. (2562). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยผ่านการเล่นโดยใช้ชุดสื่อกิจกรรม “คณิตคิดส์”. (ปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต). สุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. สืบค้นจาก https://wbscport.dusit.ac.th
สุณี บุญพิทักษ์. (2557). วิจัยชั้นเรียนปฐมวัย หลักการปฏิบัติประสบการณ์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ พริ้นดิ้ง เซอร์วิส จำกัด สืบค้นจาก http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf
สุพิชฌาย์ ทนทาน. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครสวรรค์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาการเกมการศึกเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3585
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.