การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเกมการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศิวกร เจี้ยวเห้ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธีรารัตน์ ทิพย์จรัสเมธา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง, การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเกมการศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเกมการศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนที่ 5 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเกมการศึกษา มีคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนโดยภาพรวมหลังเรียน (gif.latex?\bar{X}= 21.45 , S.D.= 0.98) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X}= 13.16 , S.D.= 1.68) 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเกมการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.33 , S.D. = 0.14)

คำสำคัญ: ทักษะการคิดวิเคราะห์, พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง, และการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ

References

กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ชลทิพย์ จันทร์จำปา และคณะ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ณิชพัณณ์ เฉลิมพันธ์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลังโดยวิธีการเรียนรู้แบบค้นพบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัณฑิตา เสริมกุลเชื้อ และจิรานุวัฒน์ โยชน์เมืองไพร. (2562). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) ร่วมกับ Plickers Application ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง สิทธิมนุษยชน ของผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านค้อท่อนน้อย จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนร้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมพร กองบุญมา และนวลศรี ชำนาญกิจ. (2558). ผลการสอนแบบค้นพบร่วมกับเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 2558(8), 73-83.

อารฝัน บากา, สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับการวิเคราะห์ เรื่อง การสลายสารอาหาร ระดับเซลล์ วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 120-130

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-07