การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ผู้แต่ง

  • ณพรรษกรณ์ ชัยพรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, แนวทางการบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร การวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากรทั้งหมด ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และครูโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร จำนวน 29 คน รวมจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการภาพรวมของโรงเรียนมัธยม  วัดเบญจมบพิตร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การคัดเลือกหนังสือแบบเรียน การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การวางแผนงานด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ และอยู่ในระดับมาก 9 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การนิเทศการศึกษา การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น การแนะแนว การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยม วัดเบญจมบพิตร คือ โรงเรียนควรส่งเสริมการแนะแนวและการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการโดยการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชน ส่งเสริมให้ครูได้รับความรู้เรื่อง การทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา พัฒนาให้มีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการ, แนวทางการบริหารงานวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 7). สงขลา: บริษัท นำศิลป์ โฆษณา จำกัด.

วรรณวิษา จีนไฝ. (2561). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน “ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติ บุคคล”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุพล พรเพ็ง. (2561). การบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Best, J.W. (1970). Research in Education. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21