การพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • นฤมล หลายประเสริฐพร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณฐพล อยู่เป็นสุข โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ, ประสิทธิภาพ, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหิรัญราษฎร์ภักดีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นนทบุรี เขต 1 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนคือ ศึกษาและสร้างชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานนำไปทดลองเพื่อหาค่าประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลคือ ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 82.75/85.50 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

คำสำคัญ: ชุดฝึกทักษะ, ประสิทธิภาพ, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

References

ชุลีพร สงวนศรี. (2554). การศึกษาความสามารถจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตร.

ฑิตฐิตา รัตนะวรรณ์. (2565). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ไฟฟ้าน่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 6(1), 22-32.

ดวงจันทร์ แก้วพงพาน. (2552). การใช้เกมส์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงพร หมวกสกุล. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิมพันธุ์ เดชะคุปต์. (2546). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป เมเนจเม้นท์

มงคล ทะนันไธสง. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช โดยใช้การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

รำพึง โนพวน. (2557). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วษุนี วรรณลือชา. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่อง ดินและการใช้ประโยชน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/

วันวิสาข์ ศรีวิไล. (2556). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องพืชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบผสมผสานระหว่างวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิรินรดา สุภักดี และ พจนีย์ เสงี่ยมจิต. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9(2), 133-139.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2542). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21