การพัฒนาชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะการลับมีด, เครื่องมือกลเบื้องต้น, นักศึกษาช่างอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน จำนวน 1 ห้อง ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะ 2) แบบสังเกตพฤติกรรม 3) แบบวัดภาคปฏิบัติวัดทักษะการลับมีดกลึง 4) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกทักษะการลับมีด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ 81.11 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ 84.22 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียน วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น เรื่องการลับมีด เพื่อส่งเสริมทักษะการลับมีดกลึง สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรมกับเกณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t= 17.57 , df= 29 , p= 0.00 )
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(1), 5-20.
วาสนา เกษมสินธุ์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเทคนิคดิจิทัลและการออกแบบหัวข้อ Basic Logic Gate ตามรายวิชา ในหัวข้อ Basic Logic Gate ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(9), 53-65.
วัชรพงษ์ เล็กสุวงษ์. (2551). การสร้างและทดสอบประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 2 หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชา อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(75), 66-71.
สุรชัย บุญโสภณ. (2559). การลับคมตัดมีดกลึง. วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี.
สุชาติ ถูกระเบียบ. (2531). ทฤษฎีเครื่องมือกลเบื้องต้น. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตพระนครเหนือ
อนิรุทธ์ สติมั่น และคณะ. (2556). การศึกษาการฝึกทักษะปฏิบัติงาน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 47(1), 84-102.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.