การศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565

ผู้แต่ง

  • สงกรานณ์ ขุนทิพย์ทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดวงกมล จงเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การแต่งเครื่องแบบ, นักศึกษาฝึกประสบการ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพตามความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตามความผู้เกี่ยวข้องกับงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูพี่เลี้ยง ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 70 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดทัศนคติต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาทัศนคติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ ตามความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 มีผลการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อ ได้แก่ แต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพทำให้ผู้เรียนให้ความเคารพมากขึ้น แต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพช่วยลดปัญหาการแต่งกายไม่สุภาพ และแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพเสริมภาพลักษณ์ความเป็นครูวิชาชีพ 2. ผลการวิเคราะห์การศึกษาทัศนคติตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต่อการแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีผลการศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากทุกข้อ และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายข้อ พบว่าแต่งเครื่องแบบครูฝึกวิชาชีพทำให้ผู้เรียนให้ความเคารพมากขึ้น  

References

โกศล เย็นสุขใจชน. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทํางานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 6(2), 62-70.

ขนิษฐา โซ๊ะประสิทธิ์และคณะ. (2550). ความคิดเห็นต่อการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. งานวิจัยของรายวิชาทางวิธีวิจัยทางธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทั่วไปธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2559). คู่มือฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ณัฐพงษ์ แซ่เอียะ, สุชาติ บางวิเศษ, และ ศักดินาภรณ์ นันที. (2566). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอํานาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลําภู เขต 2.วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(2), 64-77.

นริศ บุญญานุพงศ์ และคณะ. (2555). ทัศนคติต่อวิชาชีพครูและการสนับสนุนทางสังคมที่พยากรณ์ความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพครูของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 (น. 1646-1657). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปูชิตา ศัตรูคร้าม. (2559). ทัศนคติของนักศึกษาต่อวิชาชีพครู ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครู และทัศนคติของนักศึกษาต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูตามหลักคุรุฐานิยม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปูชิตา ศัตรูคร้าม. (2559). คุณลักษณะของครูตามหลักคุรุฐานิยมในทัศนคติของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา.[ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิวรรธน์ ทองงามขำ. (2562). การเปิดรับสื่อและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสวมเครื่องแบบของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ [ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2562. สำนักเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

อาคม สวัสดิ์มงคล. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการแต่งกายของนักศึกษา กรณีศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Bandura, Albert. (1977). Social Learning Theory. Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14