การศึกษาปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ด้วยการประเมินตนเอง

ผู้แต่ง

  • สมพล พวงสั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ขวัญ เพียซ้าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุกัญญา หะยีสาและ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เอนก จันทรจรูญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ปัญหาทางการเรียน, การรับรู้, การประเมินตนเอง, การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ และ 2) เปรียบเทียบปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำแนกตามชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 86 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินปัญหาและการรับรู้เกี่ยวกับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบครูสคัล-วัลลิส ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการเขียนพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามลำดับแรก ได้แก่ การเขียนพิสูจน์ให้เป็นขั้นตอนจนได้ข้อสรุป ( gif.latex?\bar{X}= 1.94 และ S.D. = 0.85) การนำบทนิยามหรือทฤษฎีบทอื่น ๆ มาใช้ในการพิสูจน์ ( gif.latex?\bar{X}= 1.86 และ S.D. = 0.86) และการใช้กฎทางตรรกศาสตร์และการอ้างเหตุผลในการเขียนพิสูจน์ ( gif.latex?\bar{X}= 1.84 และ S.D. = 0.87) ส่วนการรับรู้การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าในอุดมคติมากที่สุด คือ “การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์เป็นทั้งการอธิบายและการตรวจสอบข้อความทางคณิตศาสตร์ว่าเป็นจริง” (ค่าผลต่าง เท่ากับ 0.63) ในขณะที่การรับรู้ที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกับค่าในอุดมคติมากสุด คือ “ในวิชาคณิตศาสตร์ หลักฐานด้วยตัวอย่างจะบอกได้ว่า ข้อความใดเป็นจริง” (ค่าผลต่าง เท่ากับ 3.07) และ 2) ปัญหาในการเขียนพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์และการรับรู้การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำแนกตามชั้นปีในแต่ละหัวข้อไม่แตกต่างกัน ยกเว้นการรับรู้ในหัวข้อ “การพิสูจน์ข้อความทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีพิสูจน์ที่แตกต่างกันช่วยให้เข้าใจข้อความทางคณิตศาสตร์นั้นได้ดีขึ้น” อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กันยา สุวรรณแสง. (2558). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7). รวมสาส์น (1997).

ขจรศรี วรรณสถิตย์. (2544). ปัญหาในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ ระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Math/Kajonsri_W.pdf.

ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2563). การศึกษาการรับรู้หลักการเรียนและการสอนของนิสิตครู. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(2), 44-60. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/238961

เดลินิวส์. (2561). 38 มรภ.ลงนามใช้หลักสูตรครู 4 ปีร่วมกัน. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://d.dailynews.co.th/education/685002/

ธนพรรษ พฤกษะวัน. (2560). การศึกษาความสามารถและปัญหาในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด, 13(2), 167-183. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186594

พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ. (2560). การพิสูจน์. ด่านสุทธาการพิมพ์.

ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูน. (2562). การรับรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูเกี่ยวกับการใช้เฟสบุ๊กเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 345-356. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/216318

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วรรณ์ดี แสงประทีบทอง และศศิธร บัวทอง. (2562). การออกแบบเลือกกลุ่มตัวอย่าง. ใน บุญศรี พรหมมาพันธุ์ (บ.ก.), การวิจัยทางการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. (น. 4-1–4-61 ). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การประเมินการเรียนรู้ใน New normal. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ธนาเพรส.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. 21 เซ็นจูรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2565). ระบบทะเบียนสำหรับอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://reg.rru.ac.th/teacher/std_teach.php

อรนุช ศรีสะอาด. (2554). การประเมินตนเอง (Self-Assessment). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(2), 3-7. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/153795

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Almeida, D. (2000). A survey of mathematics undergraduates’ interaction with proof: some implications for mathematics education. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 31(6), 869-890. https://doi.org/10.1080/00207390050203360

Cetin, A. Y., & Dikici, R. (2021). Organizing the mathematical proof process with the help of basic components in teaching proof: Abstract algebra example. LUMAT, 9(1), 235-255. https://doi.org/10.31129/LUMAT.9.1.1497

Idek, S., & Fong, L. L. (2015). The Use of Consciousness-Raising Techniques in Teaching the Verb ‘be’ to Students of Vocational Colleges. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 208, 111-121. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2015.11.187

Knuth, E. J. (2002). Secondary School Mathematics Teachers’ Conceptions of Proof. Journal for Research in Mathematics Education, 33(5), 379-405. https://doi.org/10.2307/4149959

Moore, R. C. (1994). Making the transition to formal proof. Educational Studies in Mathematics, 27, 249-266. https://doi.org/10.1007/BF01273731

Noto, M. S., Priatna, N., & Dahlan, J. A. (2019). Mathematical proof: The learning obstacles of pre-service mathematics teachers on transformation geometry. Journal on Mathematics Education, 10(1), 117-126. https://doi.org/10.22342/jme.10.1.5379.117-126

Salant, P., & Dillman, D. A. (1994). How to conduct your own survey. John Wiley & Sons.

Schoenfeld, A. H. (2009). The Soul of Mathematics. In D. A. Stylianou, M. L. Blanton, & E. J. Knuth (Eds.), Teaching and learning proof across the grades: a K-16 perspective. (pp. xii-xvi). Routledge.

Toomnan, P., & Putsayainunt. B. (2022). Technologies in English Online Learning for Vendors. International Journal of Emerging Technologies in Learning, 17(16), 126-136. https://doi.org/10.3991/ijet.v17i16.33387

Vagias, W. M. (2006). Likert-type scale response anchors. Clemson University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14