การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง The future with will ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการเรียนแบบปกติ

ผู้แต่ง

  • บุตรศิรินทร์ จิวพานิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อรนุช ลิมตศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ, การเรียนแบบปกติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษเรื่อง The future with will ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เรียนแบบปกติก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะเรื่อง The future with will 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.71 การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า E1/E2 และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Dependent และ Independent t-test  ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะเรื่อง The future with will มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.58/82.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การสร้างแบบฝึก. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th

ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 3(2), 49-57.

ณัฐกฤตา คงรัตน์ และ ทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 43-53.

นภวรรณ อดทน. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Conditionals ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานีที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะและการสอนแบบปกติ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-8-1_1562505339_5914442006.pdf.

รวีวรรณ ภู่ประดิษฐและ อรนุช ลิมตศิริ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงาน วิจัย The 7th National Conference

Nakhonratchasima College (น.311-318). วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เอราวัตร โถแก้วเขียว. (2561). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ รหัสวิชา ค 22101 รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงเรียนเทศบาล 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14