การศึกษาผลการส่งเสริมทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ 5Es ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • ปุณยพล จันทร์ฝอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศศิพร พงศ์เพลินพิศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริมณี บรรจง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐพงษ์ พิมพา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ร่วมมือ, ทักษะการจัดกิจกรรม, รูปแบบการสอน 5Es

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือที่มีต่อทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์  2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5Es ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม  นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test (one-sample-test)  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 5Es ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 83.56 อยู่ในระดับดี  2) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 5E ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เท่ากับ 14.44 คิดเป็นร้อยละ 72.22 ของคะแนน

References

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิยา น้อยจันทร์ และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโ,ยีดิจิทัลของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 8(1), 1-11.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561ก). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2562). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

อธิวัฒน์ นาวารัตน์ และคณะ. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ที่มีต่อทักษะการเชื่อมโยง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 829-844.

Beverlee Jobrack (2013). The 5E Instructional Model Engage Explore Explain Evaluate. Extend. Journal of STEM. Available : http://eteamscc.com/wp-content/uploads/2015/07/Overview-of-5E-Instructional-Model.pdf.

Bybee, R.W.et al. (2006). The BSCS 5E Instructional Model:Origins and Effectiveness. Available: https://www.researchgate.net/publication/242363914_The_BSCS_5E_Instructional_Model_Origins_Effectiveness_and_Applications

Jim Barufaldi. (2002). The 5E Instructional Model, at the Eisenhower Science Collaborative Conference in Austin, Texas. Available: https://core-docs.s3.amazonaws.com/documents/asset/ uploaded_file/422302/5E_Instructional_Model.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25