การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปรัสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องแรงในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จํานวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 8 แผน 3) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์แบบปกติ เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน จำนวน 8แผน 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ 5) แบบประเมินความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพ 81.25/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1).
จุนิตา รัตนประทีป. (2541). การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนเทศบาล 1 (ห้วยมุด) จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ซ่อนกลิ่น กาหลง. (2559). การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เรื่องวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชุปถัมภ์, 13(1), 1-12.
น้ำฝน คูเจริญไพศาล และคณะ. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน โดยใช้บริบทเรื่องสถานะของสารและสารละลายสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา,8(15), 83-100
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวิริยาสาส์น (219).
บุตรศิรินทร์ จิวพานิชย์และอรนุช ลิมตศิริ. (2567) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง The future with will ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการเรียนแบบปกติ. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 8(1), 99-107.
ประภัสราภรณ์ บาดาล และอรนุช ลิมตศิริ (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกเสริมทักษะวิชาเคมีมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสระแก้ว. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 8(2), 1-13.
ไพฑูรย์ มูลทา และน้อย เนียมสา. (2560). การรับรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ของครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 251-265.
พัทธดนย์ อุดมสันติ. (2562). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและทัศน อุปกรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(13), 119-132.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). ประสานการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.