การพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดิษิรา ผางสง่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียน, แอปพลิเคชัน A-Math, การอบรมเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 73 โรงเรียน จำนวน 262 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พบว่า หลังจากการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งผลให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนสูงขึ้น 2)  ผลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูมีความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3)  ผลการศึกษาความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าครูมีความพึงพอใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยการนำแอปพลิเคชัน A-Math ร่วมกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรุณี อาจปรุ. (2543). ความต้องการเกี่ยวกับวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิม]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณพรรษกรณ์ ชัยพรม และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2566). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา,7(1), 68-77.

ณัฎฐพร แสงฤทธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิม]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นันทิยา น้อยจันทร์ และคณะ. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิชาการครุศาสตร์สวนสุนันทา, 8(1), 1-11.

ประทินทิพย์ พรไชยา. (2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก, 4(1), 11-14.

พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2552). เทคนิคการฝึกอบรม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พาที แสนสี. (2559). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนนางัวราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิจิตรา จอมศรี และคณะ. (2563). การพัฒนาเกมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. Journal of Academic Information and Technology, 1(2), 61-72.

พิชัย ระเวงวัน. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันเสริมทักษะการเรียนรู้พยัญชนะภาษาไทยและภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน. ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พรทิพย์ ย่องอั้น และคณะ. (2565). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนวัดกาญจนาราม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. [การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา : การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรดา ทองเชื้อ และ นฤมล ศราธพันธุ์. (2557). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตฝึกสอน สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(2), 193-202.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2557). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของครูตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้ โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 22-33.

สุวิมล ว่องวานิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันต์ ศูนย์กลาง. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมสำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

เอมย์วิกา พุทธรักษา, ธานิล ม่วงพูล, อวยไชย อินทรสมบัติ และปิติพล พลบูล. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. รายงานสืบเนื่องจากในการประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัญชลี อินถา และภาสกร เรืองรอง. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนแท็บเล็ตพีซี ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพในวัยเด็ก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 324-333.

อรนุช ศรีคำ, และคณะ. (2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 157-169.

Patrick T.H. Lim (2007). Action Research for Teachers: A Balanced Model. Proceedings of the Redesigning Pedagogy: Culture, Knowledge and Understanding Conference, Singapore, May 2007.

Sardo-Brown, D.; Welsh, L.A. & Bolton, D.L. (1995). Practical Strategies for facilitating classroom teacher’s involvement in action research. Education. (online) Available from; http://ednet2.car.chula.ac.th. (1 June 2013).

Suksunai, D., Wiratchai, N., & Khemmani, T. (2011). Effects of motivational psychology characteristic factorson teachers’ classroom action research performance. Research in Higher Education Journal, 10, 1-12.

Thathong, K. and Thathong, N. (2002). Knowledge and need of training on Classroom research of teachers. Research report. Faculty of Education, Khon Kaen University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25