ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ)

ผู้แต่ง

  • มูฮัยมีน บืองานฉา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • มูฮัมหมัดฟาเดล ยาลาแว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, TPACK Model, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, มโนทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ) ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model และ 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา (มูลนิธิ) ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดมโนทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (equation) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบ Paired Samples t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) มโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกรอบแนวคิด TPACK Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิมล คงเจริญสุข. (2562). ผลการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ร่วมกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลอย่างไม่เป็นทางการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 62-77.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนอัครศาสน์วิทยา. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนรายวิชาชีววิทยา. โรงเรียนอัครศาสน์วิทยา

รัชนียา ถิรเดโชชัย. (2566). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 62-77.

วริยากร อัศววงศานนท์. (2562). การวิเคราะห์งานวิจัยเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิชญานี เรืองสวัสดิ์. (2565). TPACK ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ : TPACK ในชีววิทยา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(2), 205. 99-115

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร.(2552). การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์โดยรูปแบบ TPACK เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 20(1), 25-35.

วิไลลักษณ์ แซ่โล้ว. (2565). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 15(2), 102-116.

ศิริวรรณ เอี่ยมประเสริฐ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมโนทัศน์ในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 4. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 15-27.

ISTE. (2008). The degree of Implementing ISTE Standards in Technical Education. The Turkish Online Journal of Education Technology, 16(2). 21-31.

Liao and Hao. (2008). A Case Study on how Teaching in a One-to-One Setting with the iPad is aligned with the TPACK Framework [Doctor of Philosophy degree in curriculum and Instruction]. The University of Toledo.

Mishra and Koehler. (2006). Tracing the development of teacher knowledge in a design Seminar : Integrating content, pedagogy and technology. Computer & Education, 49(3). 740-762.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25