ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคูหา

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ราชแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซูวัยบ๊ะห์ มะอูเซ็ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นัสรีนา ดือราโอะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นุชรี เหล็บหนู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน  ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 2 แผน แผนละ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ภัทรวดี ยศสิริพิมล และวรนุช แหยมแสง (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ ที่มีต่อนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน นพพร แหยมแสง. (บ.ก.)., พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์1. (น.45-46). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มัญธญา หาชัย. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบ 7E ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา คณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์ประชาอุทิศพิทยาคาร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/64?mode=simple

วิมล พูนยิ่งยง และเกษสุดา บูรณพันศักดิ์. (2565). การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ 7E ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. http://lib.bru.ac.th/file:///C:/Users/User/Downloads/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5.pdf

สุนิสา เนรจิตร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์โดยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้การเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). รายงานผล (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2566, สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the Model: A Proposed 7E Model Emphasizes Transferring Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding. The Science Teacher, 2(2), 56-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25