ผลการใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนประถมศึกษา หน่วยงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี, ทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทยก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี เรื่องคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหนองจิก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะอักษร 5 สี แบบวัดทักษะการอ่าน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Paired Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการอ่านคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทยของนักเรียนก่อนเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 4.21 และหลังเรียนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 2.37 สรุปได้ว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01; 2) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19 โดยระดับความพึงพอใจรวมอยู่ในระดับพอใจมาก
References
กนกกาญจน์ ศรีตะวัน. (2554). ผลการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2555). พฤติกรรมการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติศรีนครินทรวิโรฒวิชาการ ครั้งที่ 3 (น.1072-1082). สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2555). นวัตกรรมการศึกษา ชุดแบบฝึกทักษะ. โรงพิมพ์ธารอักษร.
ธีราภรณ์ ทรงประศาสน์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการแต่งประโยคสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแพร่ปัญญานุกูล [การค้นคว้าอิสระ]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นวรัตน์ จองหนุ่ม และ กฤษฎา สังขมงคล. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านช่อง (ประชากรบำรุง). วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 3(2),41-48.
ผกามาศ ผจญแกล้ว.(2543). การพิมพ์ระบบพ่นหมึก. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุภรัตน์ สท้านผล. (2554). การใช้แผนภูมิความหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โสภัทรา คงทวี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Bloom, Benjamin S. (1976) Taxonomy of Education Objective, Handbook I : Cognitive Domain. David Mckay.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.